การพัฒนารูปแบบคัดกรองและเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจในผู้สูงอายุโดยใช้ STEMI Alert 3 steps แบบมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในพื้นที่ : บริบทอำเภอขุนหาญ

Main Article Content

เพ็ญศรี นรินทร์
ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา การพัฒนารูปแบบการคัดกรองและเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุโดยบูรณาการร่วมกับการคัดกรองผู้สูงอายุประจำปีประชากรกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลตำบลขุนหาญและเทศบาลตำบลโนนสูง จำนวน 684 ราย โดยใช้  STMI Alert 3 steps (รู้อาการเตือน รู้การจัดการตนเอง รู้วิธีขอความช่วยเหลือ) บูรณาการร่วมกับการคัดกรองผู้สูงอายุประจำปีระหว่างเดือน พ.ย. 63 - พ.ค. 2564) วิธีการดำเนินการวิจัย มี 4 ระยะ คือ 1) การทบทวนสถานการณ์ 2) ออกแบบวางระบบรูปแบบคัดกรองและการเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจของผู้สูงอายุ 3) การนำรูปแบบมาดำเนินการทดลองและปรับปรุงแก้ไข และ 4) การประเมินผล ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะที่ 1 มีผู้สูงอายุเสียชีวิตก่อนถึงโรงพยาบาล จำนวน  10 ราย จำนวน 5 ราย ไม่มีการตรวจคัดกรองการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และญาติไม่ทราบวิธีการช่วยฟื้นคืนชีพ 2) ระยะที่ 2 ออกแบบวางระบบคัดกรองและการเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจในผู้สูงอายุได้เป็น    Khun han ACS Screening  3) ระยะที่ 3 นำรูปแบบมาทดลองใช้ได้ปรับ ดังนี้ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจในกลุ่มที่มีคะแนนเสี่ยง 10 คะแนนทุกคน การตรวจ คลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้สูงอายุทุกราย เพิ่มการเข้าถึงของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุไม่สะดวกในการเดินทาง จัดอบรมให้ความรู้เรื่องโรคหัวใจเนื่องจากไม่เคยมีการทำมาก่อน มีการติดตามกลุ่มเสี่ยงทุก 6 เดือน ปักหมุดเชื่อมกับระบบ EMS ถ้าพบ EKG ปกติ คืนข้อมูลให้ชุมชนเมื่อพบกลุ่มเสี่ยง 4) ระยะที่ 4 การประเมินผลผู้สูงอายุได้รับการคัดกรองจำนวน 684 คนได้รับการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) คิดเป็นร้อยละ 100 การค้นหาและดำเนินการเฝ้าระวังการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุที่รวดเร็วและเข้าถึงบริการทำให้สามารถทำนายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจตีบรุนแรงในอีก 10 ปี ของผู้สูงอายุในเทศบาลตำบลขุนหาญและเทศบาลตำบลโนนสูงพบมีความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2559). ยุทธศาสตร์ เป้าหมายและตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ปีงบ 2559. สืบค้น 2 สิงหาคม 2561, จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/Pages/FAQ/

เกษชดา ปัญเศษ สุกาญฎา กลิ่นถือศิล อาภาสิณี กิ่งแก้ว และวิยดา วงศ์มณีโรจน์. (2558). ความเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดของบุคลากรที่ปฏิบัติราชการส่วนกลางกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด Rama – EGAT Heart Score. วารสารพยาบาลสารกระทรวงสาธารณสุข, 25(2), 57-70.

สุเพียร โภคทิพย์ กนกพร ชำนาญเวช ปัทมานันท์ ภูปา และคณะ (2559). รูปแบบการเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคหัวใจในกลุ่มเสี่ยงโดยใช้ STEMI Alert 3 steps: บริบทจังหวัดอุบลราชธานี. จุลสารสรรพสิทธิสัมพันธ์ 2560, 19(248), 4-8.

คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. (2561). ศูนย์หัวใจและหลอดเลือด และเมแทลลิซึม: แบบประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบ ใน10 ปีข้างหน้า (RAMA-EGAT Heart Score) . สืบค้น 2 สิงหาคม 2561, จาก

https://www.rama.mahidol.ac.th/cvmc/th/event/ramaegatheartscor

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2558). แบบคัดกรองผู้สูงอายุในชุมชน (Basic Geriatric Screening). นนทบุรี: บริษัท อีส ออกัส จำกัด.

Donabedian, A. (1988). The quality of care: How can it be assessed. Journal of American Medical Association, 260(1), 1743-8.

Gallagher, R., Roach, K., Belshaw, J., Kirkness, A., Sadler, L. and Warrinton, D. (2013). A Pre-test post test study of a brief education intervention demonstrates improved knowledge of potential acute myocardial infarction symptoms and appropriate responses in cardiac rehabilitation patients. Australian Critical Care, (26), 49-54.

เมฆ สายะเสวี. (2554). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบศูนย์แพทย์ชุมชน: กรณีศึกษา ศูนย์แพทย์ชุมชนมุสลิมพรุในเกาะยาวใหญ่ จังหวัดพังงา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.