การเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพของวัยแรงงานเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง กรณีศึกษา ชุมชนม่วงแงว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาด้วยวิธีการผสมผสานเพื่อศึกษาพฤติกรรมทางด้านสุขภาพและการเตรียมความพร้อมทางด้านสุขภาพของวัยแรงงานเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของประชากรวัยแรงงานในเขตชุมชนม่วงแงว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 377 คน และสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ของรัฐจำนวน 5 รายและอาสาสมัครจำนวน 15 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจ ได้แก่ 1) แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบค่า IOC ได้เท่ากับ 0.96 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 และ 2) แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยในภาพรวมระดับพฤติกรรมทางด้านสุขภาพของประชากรวัยแรงงานในเขตชุมชนม่วงแงว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีค่าเท่ากับ 3.73 และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.58 อยู่ในระดับดีมาก ในขณะที่พฤติกรรมที่มีค่าคะแนนน้อยที่สุดอยู่ในด้านความรับผิดชอบต่อสุขภาพ มีค่าคะแนนเท่ากับ 3.24 อยู่ในระดับดี และผลจากการสัมภาษณ์ พบว่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลม่วงแงว อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคด้วยการสร้างเครือข่ายความรู้ด้านสุขภาพร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ และจัดทำแนวทางการเตรียมความพร้อมของประชากรในวัยแรงงงาน เพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ได้แก่ 1) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตนเอง 2) การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับชุมชน และ 3) การตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นการศึกษาเรื่องนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการป้องกันการเกิดโรค NCDs ในกลุ่มวัยแรงงานและยังส่งเสริมการดูแลสุขภาพที่เหมาะกับวัยด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
กระทรวงสาธารณสุข. (2562). ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ ข้อมูลผู้ป่วย โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
พงศธร พอกเพิ่มดี. (2563). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ. ศ. 2561-2580. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(1), 173-186.
กศิมา สง่ารัตนพิมาน และอรพิน ภัทรกรสกุล. (2565). การประเมินผลการพัฒนาระบบการจัดการโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเครือข่ายโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 5(1), 42-57.
ดลนภา ไชยสมบัติ และนันทิกา อนันต์ชัยพัทธนา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนก่อนวัยผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 135-147.
Brown, A. (2017). Breastfeeding as a public health responsibility: a review of the evidence. Journal of Human Nutrition and Dietetics, 30(6), 759-770.
Weiler, R., Murray, A., and Joy, E. (2013). Do all health care professionals have a responsibility to prescribe and promote regular physical activity: or let us carry on doing nothing. Current sports medicine reports, 12(4), 272-275.
ทัศนียา วังสะจันทานนท์ อ้อทิพย์ ราษฎร์นิยม และศิวลาภ สุขไพบูลย์วัฒน์. (2562). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมโภชนาการต่อภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุจังหวัดนครนายก. วารสารคณะพลศึกษา, 22(2), 121-133.
ธีรวีร์ วราธรไพบูลย์. (2557). พฤติกรรมการบริโภค: อาหารนิยมบริโภคกับอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(2), 255-264.
Forbes, PA., Pronizius, E., Feneberg, AC., Nater, UM., Piperno, G., Silani, G., et al., (2023). The effects of social interactions on momentary stress and mood during COVID‐19 lockdowns. British Journal of Health Psychology, 28(2), 306-319.
กริช เกียรติญาณ และธนัสถา โรจนตระกูล. (2564). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ กรณีศึกษาตำบลวัดไทรย์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. Journal of Modern Learning Development, 6(2), 59-74.
Peng, W., Chen, S., Chen, X., Ma, Y., Wang, T., Sun, X., et al., (2023). Trends in major non-communicable diseases and related risk factors in China 2002–2019: an analysis of nationally representative survey data. Retrieved 10 May 2023, from https://www.thelancet.com/journals/lanwpc/article/PIIS2666-6065(23)00127-X/fulltext.
พระครูสุตธรรมมงคล (อนันต์ อริโย) พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ และภานุวัฒน์ สิงห์คำป้อง. (2565). การจัดการชุมชนแบบมีส่วนร่วมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(10), 157-172.
ปรเมธี วิมลศิริ. (2561). ระเบียบวาระแห่งชาติเรื่องผู้สูงอายุ. สืบค้น 29 ตุลาคม 2565, จาก shorturl.at/rHQUX. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php
ดลนภา ไชยสมบัติ และบัวบาน ยะนา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมตัวเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรวัยก่อนสูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(3), 131-143.
ชัยวัฒน์ อ่อนไธสง กัลยรัตน์ ศรกล้า สุรีรัตน์ สืนสันต์ และวรนาถ พรหมศวร. (2563). การเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประชากรในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(2), 53-68.
ภาณุวัฒน์ มีชะนะ ณิชชาภัทร ขันสาคร ทัศนีย์ ศิลาวรรณ ทัศนีย์ รวิวรกุล และเพ็ญศรี พิชัยสนิธ. (2560). การเตรียมความพร้อมของประชากรก่อนวัยสูงอายุเพื่อเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุคุณภาพตำบลหนองหญ้าไซอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับพิเศษวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(1), 259-271.
ยุวัลดา ชูรักษ์. (2562). การเตรียมความพร้อมของประชาชนเพื่อรองรับการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในจังหวัดตรัง. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 10 (น. 1023-1030). สงขลา: สำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ สงขลา.
Firoz, T., Pineles, B., Navrange, N., Grimshaw, A., Oladapo, O., and Chou, D. (2022). Non-communicable diseases and maternal health: a scoping review. BMC Pregnancy and Childbirth, 22(1), 1-14.
อุทุมพร วานิชคาม. (2562). การเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 25(1), 164-179.
World Health Organization. (2020). Noncommunicable diseases: Progress monitor 2020. Retrieved 10 May 2023, from https://www.who.int/publications/i/item/ncd-progress-monitor-2020.