ความชุกและระดับความเสี่ยงของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในนักศึกษา สาขาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและความเสี่ยงจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเชื่อด้านสุขภาพ และปัจจัยกระตุ้นการดื่ม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาสาขาสาธารณสุขชุมชนชั้นปีที่ 1-4 คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ จำนวน 164 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ในเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2567 ประกอบด้วย ปัจจัยร่วม การดื่มแอลกอฮอล์ การคัดกรองความเสี่ยง การเข้าถึงแหล่งซื้อ การรับรู้ผลกระทบ ความเชื่อด้านสุขภาพ และปัจจัยกระตุ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า อัตราความชุกของนักดื่มปัจจุบันคือร้อยละ 76.83 ในศึกษาที่ดื่มแอลกอฮอล์พบว่าการประเมินความเสี่ยงด้วย ASSIST พบกลุ่มเสี่ยงปานกลาง ร้อยละ 42.42 และระดับสูง ร้อยละ 5.30 ในแง่ของความเชื่อด้านสุขภาพ นักศึกษาส่วนใหญ่จะมีความเชื่อในระดับปานกลางถึงสูง ตระหนักถึงโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคจากการดื่ม เห็นประโยชน์ของการไม่ดื่ม และเชื่อมั่นว่าจะสามารถไม่ดื่มได้ ส่วนปัจจัยกระตุ้นให้ดื่มที่สำคัญ ได้แก่ อิทธิพลจากสื่อ เพื่อน และพฤติกรรมการดื่มของคนในครอบครัว สรุปได้ว่า สามในสี่ของกลุ่มตัวอย่างมีการดื่มแอลกอฮอล์ และส่วนใหญ่มีระดับความเสี่ยงปานกลาง แม้จะมีความเชื่อด้านสุขภาพที่ดี แต่มีปัจจัยกระตุ้นที่สำคัญคือ สื่อ เพื่อน และครอบครัว ดังนั้น ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการดื่มในนักศึกษา จึงควรจัดการกับปัจจัยแวดล้อมที่เป็นตัวกระตุ้น เพื่อลดแรงจูงใจและโอกาสในการดื่มแอลกอฮอล์ลงได้อย่างยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใด ๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใด จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ก่อนเท่านั้น
References
Assanangkornchai, S., Arunpongpaisal, S., & Kittirattanapaiboon, P. (2011). The Alcohol, Smoking and Substance Involvement Screening Test (ASSIST): Manual for use in primary care settings. (Thai version). Nonthaburi: Academic Program for Development of Substance Abuse Treatment Model in Community. (in Thai)
Bloom, BS. (1968). Learning for Mastery. Instruction and Curriculum. Regional Education Laboratory for the Carolinas and Virginia, Topical Papers and Reprints, Number 1. Evaluation comment, 1(2), n2.
Center for Alcohol studies. (2022). Patterns and Trends in Alcohol Consumption Behavior of the Thai Population [Online]. Retrieved August 1, 2023, from: https://cas.or.th/?p=10202 (in Thai)
Chaikarn, A., & Chaikarn, A. (2017). Alcohol drinking behavior of students at Phranakhon Si Ayutthaya Rajabhat University. Valaya Alongkorn Review, 7(2), 107-113. (in Thai)
Champion, VL., & Skinner, CS. (2008). The health belief model. Health behavior and health education: Theory, research, and practice, 4, 45-65.
Chaitiang, N., Charoendee, S., & Phuthomdee, S. (2019). The factors associated with alcohol consumption behavior among people in Phayao Province. Journal of Safety and Health, 12(2), 24-34. (in Thai)
Daniel, WW., & Cross, CL. (2018). Biostatistics: a foundation for analysis in the health sciences. Wiley.
Jaimalai, W., Wongkeenee, W., Ketchu, K., Kosalwat, S., & Chaikoolvatana, C. (2017). Alcohol drinking behavior among undergraduate students in Phayao Province. Journal of Public Health Nursing, 31(2), 109–126. (In Thai).
Kuha, P. (2015). Factors related to alcohol drinking of female undergraduate university students, Chiang Mai Province. Master of Public Health Thesis. Chiang Mai: Graduate School, Chiang Mai University. (in Thai)
Luxsiam, N., Watthayu, N., & Rattanathanya, D. (2019). Factors predicting alcohol drinking behavior among adolescent students in Surin Municipality. Journal of Nursing and Health Care, 37(4), 22-31. (In Thai).
National Statistical Office. (2021). Health Behaviour of Population Survey 2021. Bangkok: Ministry of Digital Economy and Society. (in Thai)
Phochanasombat, S. (2021). Factors associated with preventive behaviors of alcohol consumption among junior high school students, Phichit Province. Research report. Office of Disease Pre and Control 3, Nakhon Sawan Province. (in Thai)
Pimathai, C., Homsin, P., & Srisuriyawet, R. (2021). Factors Related to Hazardous Drinking Among Male Vocational Students in Sisaket Province. Journal of The Thai Red Cross Nurses, 14(1), 170-184. (in Thai)
Saimek, M., & Muensit, A. (2017). Alcoholic drinks consumption behaviors: A case study of students at Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Pathumthani Province. Journal of Liberal Arts RMUTT, 1(1), 1-17. (in Thai)
Thongrueang, J. (2019). Factors relating to alcohol consumption behavior in primary grade 6 and junior high school students in Bangyai District, Nonthaburi Province. Journal of Medical and Public Health Region 4, 9(2), 39-49. (in Thai).
Wongcha-um, P. (2014). The relationship between knowledge, attitudes and alcohol drinking behavior of full-time students at Burapha University, Chonburi Province. Master of Public Administration Thesis. Graduate School of Public Administration, Burapha University. (in Thai)