การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมเพื่อสุขภาพที่มีชาดีบัวเป็นองค์ประกอบและการทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของยูรีเทนในแมลงหวี่
Main Article Content
Abstract
ผู้วิจัยนำน้ำสกัดดีบัวมาเป็นส่วนผสมในการผลิตขนมปังและขนมน้ำดอกไม้ ศึกษาการยอมรับของผู้บริโภค และ ศึกษาฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของยูรีเทน พบว่าผู้บริโภคยอมรับน้ำดีบัวได้ถึง 50% ของน้ำใช้ผลิตขนมปัง และ2.5% ของ น้ำใช้ในการผลิตขนมน้ำดอกไม้ (เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลทางด้านประสาทสัมผัสตามแผนComplete Randomized Design และวิเคราะห์ความแปรปรวนโดยใช้ One-Way ANOVA และ Duncan’s new multiple rang test ที่ความเชื่อมั่น 95 %) ส่วนฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ของขนมศึกษาโดยแทนที่แป้งและน้ำตาลในอาหารเลี้ยงแมลงหวี่ด้วย ขนมเป็นอาหารทดลอง นำหนอนแมลงหวี่พันธุ์ทาง (mwh flr+/mwh TM3) อายุ 3 วัน จากอาหารธรรมดามาเลี้ยงในอาหาร ทดลองจนตัวอ่อนกลายเป็นตัวเต็มวัย จึงวิเคราะห์การก่อกลายพันธุ์บนปีก จากนั้นทำการทดสอบฤทธิ์ต้านการก่อกลาย พันธุ์ในลักษณะเดียวกันแต่ใช้สารละลาย 20 mM ยูรีเทนแทนที่น้ำในอาหารเลี้ยงแมลงหวี่ซึ่งเรียกการทดลองนี้ว่า coadministration study และทำการทดลองแบบ pre-feeding study โดยผสมพันธุ์พ่อแม่แมลงหวี่ให้วางไข่ลงในอาหาร ทดลองจนได้หนอนอายุ 3 วัน จึงย้ายไปเลี้ยงต่อให้อาหารธรรมดาที่มียูรีเทน (pre-feeding study type 1) หรือ อาหาร ทดลองที่มียูรีเทน (pre-feeding study type 2) ผลวิจัยพบว่าตัวอย่างขนมลดฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของยูรีเทนได้แต่ไม่มี นัยสำคัญตามเกณฑ์ของการวิจัย ผู้วิจัยไม่สามารถเพิ่มปริมาณของน้ำสกัดจากดีบัวที่ใส่ในขนมขึ้นได้อีก เนื่องจากข้อจำกัด ในเรื่องรสขมของดีบัว อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ขนมที่ปรับปรุงในการศึกษาครั้งนี้นับว่าเป็นตัวเสริมของการบริโภคอาหาร เพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งได้เช่นกัน