การใช้เทคนิคพีซีอาร์-อาร์เอฟแอลพีเพื่อการประเมินการเกิดอะฟลาทอกซินในข้าวโพดไทยที่ใช้เป็นวัตถุดิบทางปศุสัตว์ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์อะฟลาทอกชินด้วยเทคนิคพีซีอาร์ในข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบทางปศุสัตว์
Main Article Content
Abstract
ประเทศไทยพบเชื้อรา Aspergillus flavus ที่สร้างอะฟลากอกชินและมักพบปนเปื้อนในเมล็ดข้าวโพด ที่นำมาทำเป็นอาหารสัตว์ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาวิธีการประเมินผลการเกิดอะฟลากอก- ซินในข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบทางปศุสัตว์ ด้วยวิธี ELISA และ PCR-RFLP จากการสุ่มเก็บตัวอย่างข้าวโพด จำนวน 200 ตัวอย่างจากแหล่งปลูกในไร่และโรงเก็บของพ่อค้าท้องถิ่น 5 จังหวัดคือ ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา กาญจนบุรี และเพชรบูรณ์ นำมาตรวจวิเคราะห์หาสารพิษปนเปื้อนอะฟลาทอกซินบี 1 ด้วยชุด ตรวจสอบสำเร็จรูปวิธีอีไลซ่า และนำตัวอย่างข้าวโพดที่ตรวจพบและไม่พบอะฟลาทอกชิน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มไม่พบอะฟลาทอกซิน กลุ่มตรวจพบอะฟลาทอกซิน มากกว่าและน้อยกว่า 20 ppb ตามลำดับ นำ ตัวอย่างข้าวโพดมาสกัดดีเอ็นเอด้วยชุดสกัดสำเร็จรูป ตรวจสอบดีเอ็นเอที่สกัดได้ด้วยเจลอิเล็กโตรโฟรีซีส นำ ดีเอ็นเอที่ได้มาทำพีซีอาร์ เพื่อเพิ่มจำนวนชุดของดีเอ็นเอที่จำเพาะกับยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอะฟลาทอกซิน พบว่าปริมาณดีเอ็นเอที่สกัดได้มีมากพอที่จะทำพีซีอาร์ทั้ง 3 กลุ่ม นำผลผลิตที่ได้จากการทำพีซีอาร์มาตรวจ สอบด้วย 2% อะกาโรสเจลอิเล็กโตรโฟรีซีส และตัดด้วยเอนไซม์ Hincll และ Pvull จากผลการศึกษาพบว่า ข้าวโพดจากแหล่งปลูกในไร่ จำนวนตัวอย่างที่พบอะฟลาทอกซินบี1 ร้อยละ 40-100 มากกว่าข้าวโพดจากโรง เก็บพ่อค้าท้องถิ่น ร้อยละ 25-50 แต่มีปริมาณอะฟลาทอกซินบี 1 ที่พบในข้าวโพดจากโรงเก็บพ่อค้าท้องถิ่น (12-172 ppb) สูงกว่าข้าวโพดจากแหล่งปลูกในไร่ (2-6 ppb) ผลการตรวจสอบด้วยเทคนิคพี่ซีอาร์ พบว่า สามารถเพิ่มชิ้นส่วนดีเอ็นเอที่จำเพาะต่อยีนอะฟลาทอกซินได้ทั้ง 3 กลุ่ม