สถานการณ์การใช้วัตถุกันเสียในน้ำตาลใส
Main Article Content
Abstract
น้ำตาลใสเป็นวัตถุดิบที่ใช้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวและน้ำตาลสด ในการรักษาคุณภาพน้ำตาลใสระหว่าง การรองรับน้ำตาลจากงวงมะพร้าว เกษตรกรนิยมใช้ไม้พะยอม หรือไม้เคี่ยม ซึ่งมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารกัน บูดตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันมีการนำสารเคมีสังเคราะห์ประเภทวัตถุกันเสียมาใช้แทน การใช้สารเคมีเหล่านี้ อย่างไม่เหมาะสมอาจก่อผลเสียต่อสุขภาพผู้บริโภค การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสถานการณ์ การใช้วัตถุกันเสียในน้ำตาลใส โดยเก็บตัวอย่างน้ำตาลใสจากเกษตรกรในจังหวัดสมุทรสงคราม นำมา วิเคราะห์ชนิดและปริมาณวัตถุกันเสียในน้ำตาลใส ได้แก่ สารประกอบในกลุ่มของซัลไฟต์ จำแนกชนิดโดยใช้ ชุดทดสอบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิเคราะห์ปริมาณเป็นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ โดยเทคนิค Optimized Monier-Williams และสารประกอบในกลุ่มของกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งจำแนกชนิดและ วิเคราะห์โดยเทคนิคโครมาโกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงชนิดรีเวิร์สเฟส
ผลการศึกษาพบว่าในน้ำตาลใสจำนวน 100 ตัวอย่าง พบการเจือปนวัตถุกันเสีย 2 กลุ่ม คือกลุ่มของ สารประกอบซัลไฟต์จำนวน 39 ตัวอย่าง มีการตกค้างของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในช่วง 11.01- 2,106.94 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม มีปริมาณเฉลี่ย 377.29 ± 456.68 มก.ต่อ กก. พบการเจือปนวัตถุกันเสียกลุ่มของกรด เบนโซอิกจำนวน 10 ตัวอย่าง ในช่วง 31.37- 1,384.45 มก.ต่อ กก. มีปริมาณเฉลี่ย 286.608 ± 415.68 มก. ต่อ กก. และน้ำตาลใส 2 ตัวอย่าง มีการตกค้างของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และการเจือปนของกรดเบนโซอิก จะ เห็นได้ว่าปริมาณวัตถุกันเสียทั้ง 2 กลุ่มที่พบในหลายตัวอย่างมีค่าสูง ดังนั้นควรหามาตรการควบคุมการใช้ วัตถุกันเสียทั้งชนิดและปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากน้ำตาลใสทั้งน้ำตาลมะพร้าวและ น้ำตาลสดมีการใช้วัตถุกันเสียทั้งชนิดและปริมาณถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานอาหาร หรือหันมา ควบคุมการผลิตตามหลักสุขาภิบาลอาหาร เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในการเก็บรักษาน้ำตาลใส และ ส่งเสริมการใช้สารกันบูดจากธรรมชาติ เช่น ไม้เคี่ยม ไม้พะยอม ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น