การรับสัมผัสตะกั่วและสุขลักษณะของพนักงานโรงพิมพ์ในภาคใต้ของประเทศไทย

Main Article Content

โสมศิริ เดชารัตน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อตรวจระดับ ตะกั่วในเลือดและอากาศ ซึ่งจะอธิบายพฤติกรรมสุขภาพผลกระทบต่อสุขภาพและหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับ ตะกั่วในเลือดของพนักงานและตัวอย่างอากาศในโรงพิมพ์ เป็นการศึกษาภาคตัดขวางโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถามในพนักงานโรงพิมพ์  จำนวน 75 คนจากโรงพิมพ์ 16 แห่งและ75 คนในกลุ่มที่ไม่รับสัมผัสทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำการวิเคราะห์ระดับตะกั่วโดยเครื่องอะตอมมิคแอปซอปชั่นที่ความยาวคลื่น 283.3 นาโนเมตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ Independent t-test และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า พนักงานร้อยละ 65.3 เป็นเพศชายร้อยละ 53.3 อายุระหว่าง 20-30 ปี ร้อยละ 72.0 มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี ระดับตะกั่วในอากาศของกลุ่มรับสัมผัสมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 15.00 ± 4.54 g/m3 ( ช่วง 10 - 25 g/m3) ระดับตะกั่วในเลือดของกลุ่มรับสัมผัสมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.61 ± 3.71 g/dL  ซึ่งมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (2.07 ± 1.03 g/dL) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.01 ระดับตะกั่วในเลือดและอากาศมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r  = 0.570, p < 0.01) พฤติกรรมสุขลักษณะมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับระดับตะกั่วในเลือด ( p < 0.001 ) ดังนั้นการอบรมความรู้ด้านอาชีวอนามัยและสภาพการทำงานจึงมีความความจำเป็นเนื่องจากความสัมพันธ์ดังกล่าว

Article Details

How to Cite
เดชารัตน์ โ. . (2016). การรับสัมผัสตะกั่วและสุขลักษณะของพนักงานโรงพิมพ์ในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารพิษวิทยาไทย, 31(2), 9–24. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJToxicol/article/view/244138
บท
บทความวิจัย