การประเมินสมรรถภาพการผลิต ต้นทุนค่าอาหารและการย่อยได้โภชนะของโคขุนลูกผสมชาโรเลส์และวากิวเลี้ยงด้วยอาหารที่มีผลิตผลร่วมของสับปะรด

Main Article Content

สินีนาฏ พลโยราช
รณชัย สิทธิไกรพงษ์
จำลอง มิตรชาวไทย
อัจฉรา ลักขณานุกูล
จันทร์พร เจ้าทรัพย์
กนกรัตน์ ศรีกิจเกษมวัฒน์
ชนาธิป ธรรมการ
รัศมี นามภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินสมรรถภาพการผลิต ต้นทุนค่าอาหารและการย่อยได้โภชนะของโคขุนลูกผสมชาโรเลส์และวากิวเลี้ยงด้วยอาหารที่มีผลิตผลร่วมของสับปะรด ใช้โคเนื้อลูกผสมชาโรเลส์ และโคเนื้อลูกผสมวากิว สายพันธุ์ละ 15 ตัว น้ำหนักเริ่มต้นประมาณ 400 กิโลกรัม โคจะได้รับอาหารข้น 14% CP และ 78% TDN โดยให้กินแบบเต็มที่ ขุนจนน้ำหนักโคได้น้ำหนัก 500 กิโลกรัม พบว่าโคลูกผสมวากิวมีน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นสูงกว่า (P<0.05) ในขณะที่อัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวันของโคลูกผสมชาโรเลส์มีค่าสูงกว่า (P<0.01) นอกจากนี้ปริมาณการกินได้ของโคลูกผสมชาโรเลส์มีค่าต่ำกว่าโคลูกผสมวากิว ในขณะเดียวกันโคลูกผสมชาโรเลส์มีค่าการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวดีกว่า (P<0.01) ส่งผลให้มีต้นทุนค่าอาหารทั้งหมด และต้นทุนค่าอาหารต่อการเพิ่มน้ำหนักตัว (feed cost per gain, FCG) ต่ำกว่า (P<0.01) โคลูกผสมวากิว มากไปกว่านี้ค่าการย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุ NDF และ ADF ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05) อย่างไรก็ตามลูกผสมวากิวมีค่าการย่อยได้ของไขมันสูงกว่า (P<0.05) ในขณะที่การย่อยได้ของโปรตีนหยาบต่ำกว่าโคลูกผสมชาโรเลส์ จากงานทดลองสรุปได้ว่าโคลูกผสมชาโรเลส์ที่เลี้ยงด้วยอาหารที่มีผลิตผลร่วมของสับปะรด มีค่าน้ำหนักตัว อัตราการเจริญเติบโตและการย่อยได้ของโปรตีนมีค่าสูงกว่า ในขณะที่อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว ต้นทุนค่าอาหารทั้งหมด FCG และการย่อยได้ของไขมันต่ำกว่าโคลูกผสมวากิว

Article Details

How to Cite
พลโยราช ส. ., สิทธิไกรพงษ์ ร., มิตรชาวไทย จ., ลักขณานุกูล อ., เจ้าทรัพย์ จ., ศรีกิจเกษมวัฒน์ ก., ธรรมการ ช. และ นามภักดี ร. (2022) “การประเมินสมรรถภาพการผลิต ต้นทุนค่าอาหารและการย่อยได้โภชนะของโคขุนลูกผสมชาโรเลส์และวากิวเลี้ยงด้วยอาหารที่มีผลิตผลร่วมของสับปะรด”, สัตวแพทย์มหานครสาร, 16(2), น. 263–271. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jmvm/article/view/249512 (สืบค้น: 18 เมษายน 2025).
บท
บทความวิจัย

References

AOAC. 1998. Official Method of Analysis. 15th Edition, Association of Official Analytical Chemists, Washington DC.
Fung, W.Y., K.H. Yuen and M.T. Liong. 2010. Characterization of fibrous residues from agrowastes and the production of nanofibers. J. Agric. Food Chem. 58: 8077-8084.
McGee, M., C.M. Welch, J.B. Hall, PAS, W. Small, and R.A. Hill. 2013. E-valuation of Wagyu for residual feed intake: Optimizing feed efficiency, growth, and marbling in Wagyu cattle. Prof. Anim. Sci. 29:51–56.
Schnider, B.H. and W.P. Flat. 1975.The evaluation of feeds through digestibility experiments. Athens: The University of Georgia Press. 423p.
Tumwasorn, S. 2007. Effect of amount of concentrate on profit margin in fattening beef cattle to avoid poverty under Thai village conditions. In Proceedings of the animals science research. The 45th annual conference (pp. 80–86). Bangkok, Thailand: Kasetsart University.
Tumwasorn, S. 2007. Effect of amount of concentrate on profit margin in fattening beef cattle to avoid poverty under Thai village conditions. In Proceedings of the animals science research. The 45th annual conference (pp. 80–86). Bangkok, Thailand: Kasetsart University.
Ueda, Y., A. Watanabe, M. Higuchi, H. Shingu, S. Kushibiki, and M. Shinoda. 2007. Effects of intramuscular fat deposition on the beef traits of Japanese Black steers (Wagyu). Anim. Sci. J. 78:189–194.
van Keulen, J.V. and B.A. Young. 1977. Evaluation of acid insoluble ash as a natural marker in ruminant digestibility studies. J. Anim Sci. 44: 282.
Zhuang, Y.L., Y.F. Zhang and L.P. Sun. 2012. Characteristics of fibre-richpowder and antioxidant activity of pitaya (Hylocereus undatus) peels. Inter. J. Food Sci. Technol. 47:1279–1285.