ผลของการเสริมโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์ร่วมกับซาลิโนมัยซินและวัคซีนป้องกันโรคบิดต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพซากในไก่เนื้อ

Main Article Content

หัสนัย ศิริพงษ์
สมบัติ ประสงค์สุข
เชาว์วิทย์ ระฆังทอง
ก.ทีปลักษณ์ ระงับเหตุ
ธีรวิทย์ เป่ยคำภา

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเสริมโมโนกลีเซอไรด์เบลนด์ ต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตระหว่างไก่เนื้อที่ได้รับซาลิโนมัยซิน (ยาป้องกันโรคบิด)และวัคซีนป้องกันโรคบิด การทดลองครั้งนี้ใช้ไก่เนื้อพันธุ์ Ross 308 เพศผู้ อายุ 1 วัน จำนวน 1,260 ตัว ระยะเวลาการเลี้ยง 35 วัน โดยออกแบบแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (completely randomized design: CRD) ไก่เนื้อทั้งหมดถูกสุ่มและแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม โดยมีกลุ่มทดลองละ 6 ซ้ำ ซ้ำละ 35 ตัว คือ 1) กลุ่มควบคุม (ไม่เสริมโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์และซาลิโนมัยซิน) 2) กลุ่มวัคซีนป้องกันโรคบิด 3) กลุ่มเสริมซาลิโนมัยซิน 0.006% 4) กลุ่มเสริมโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์ 0.05% 5) กลุ่มวัคซีนป้องกันโรคบิดร่วมกับโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์ 0.05% 6) กลุ่มเสริมซาลิโนมัยซินร่วมกับโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์ 0.05% ตามลำดับ ผลการทดลองตลอดระยะ 1-35 วัน พบว่า น้ำหนักตัวสิ้นสุด น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของกลุ่มเสริมซาลิโนมัยซินร่วมกับโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์มีค่าดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) แม้ว่าการเสริมโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์ในไก่เนื้อไม่ได้ส่งผลต่อคุณภาพซากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หากแต่มีแนวโน้มส่งผลต่อน้ำหนักสันในที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นการเสริมโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์ร่วมกับซาลิโนมัยซินและวัคซีนป้องกันโรคบิดในอาหารไก่เนื้ออาจสามารถช่วยปรับปรุงสมรรถภาพการผลิตในไก่เนื้อได้

Article Details

How to Cite
ศิริพงษ์ ห., ประสงค์สุข ส. ., ระฆังทอง เ. ., ระงับเหตุ ก. . และ เป่ยคำภา ธ. . (2024) “ผลของการเสริมโมโนกลีเซอร์ไรด์เบลนด์ร่วมกับซาลิโนมัยซินและวัคซีนป้องกันโรคบิดต่อสมรรถภาพการเจริญเติบโตและคุณภาพซากในไก่เนื้อ”, สัตวแพทย์มหานครสาร, 19(2), น. 77–87. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/jmvm/article/view/264830 (สืบค้น: 1 เมษายน 2025).
บท
บทความวิจัย

References

Ahmad, R., Y. H. Yu, K. F. Hua, W. J. Chen, D. Zaborski, A. Dybus, F. S. Hsiao and Y. H. Cheng (2024). Management and control of coccidiosis in poultry - A review. Anim Biosci 37(1): 1-15.

Guo, Y. 2008. Effects of sodium butyrate on mucosal immunity-associated cells in smal–l intestine of broiler. Chin. J. Anim. Nutr. 20: 469–474.

Jackman J.A., Lavergne T.A. and Elrod C.C. 2022. Antimicrobial monoglycerides for swine and poultry applications. Front. Anim. Sci. 3: 1019320.

Leeson, S., Namkung, H., Antongiovanni, M., Lee, E.H. 2005. Effect of Butyric Acid on the Performance and Carcass Yield of Broiler Chickens. Poult. Sci. 84(9): 1418–1422.

Lin, Q., Liu, Y., Li, L., Huai, M., Wang, Y., Lv, T. and Dai, Q. 2022. Effects of a mixture of mono-glycerides of butyric-, capric-, and caprylic acid with chlortetracycline on the growth performance, intestine morphology, and cecal microflora of broiler birds. Poult. Sci., 101(2): 101617.

Liu, T., Li, C., Zhong H. and Feng, F. 2021. Dietary medium-chain a-monoglycerides increase BW, feed intake, and carcass yield in broilers with muscle composition alteration: Poult. Sci. 100(1): 186–195

Mir, N.A., Rafiq, A., Kumar, F., Singh, V., and Shukla, V.. 2017. Determinants of broiler chicken meat quality and factors affecting them: a review. J. Food Sci. Technol. 54(10):2997–3009.

Sampugna, J., Quinn, J.G., Pitas, R.E., Carpenter, D.L., and Jensen, R.G. 1967. Digestion of butyrate glycerides by pancreatic lipase. Lipids 2(5): 397–402

Watt, M.J., and Steinberg, G.R.. 2008. Regulation and function of triacylglycerol lipases in cellular metabolism. Biochem. J. 414(3): 313–325.

Yoon, B.K., Jackman, J.A., Valle-González, E., and Cho, N.J. 2018. Antibacterial free fatty acids and monoglycerides: biological activities, experimental testing, and therapeutic applications. Int J. Mol. Sci. 19(4): 1114.

พัชรานันท์ นิยมทรัพย์ วิริยา ลุ้งใหญ่ สมบัติ ประสงค์สุข และ ธีรวิทย์ เป่ยคำภา. 2566. ผลการเสริมโมโนบิวทีรีนในอาหาร ต่อการผลิตไข่ คุณภาพไข่ ลักษณะสัณฐานของลำไส้ในไก่ไข่ช่วงหลังของการให้ผลผลิตสูงสุด. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 20, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, ธันวาคม 2566: 162-174.