อิทธิพลของแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดินบริเวณรอบรากถั่วผีต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดข้าวเหนียว

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา หม่องอ้น คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ, ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยแม่โจ
  • ฉัตรสุดา เผือกใจแผ้ว คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้, ศูนย์วิจัยความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์แห่งมหาวิทยาลัยแม่โจ

คำสำคัญ:

แบคทีเรียละลายฟอสเฟต, แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช, ปริมาณคลอโรฟิลล์, ปริมาณฟอสฟอรัส

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแยกเชื้อแบคทีเรียที่ละลายฟอสเฟตได้จากดินบริเวณรอบรากของถั่วผีและศึกษาผลของเชื้อเแบคทีเรียที่ละลายฟอสเฟตต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดข้าวเหนียว จากการแยกจุลินทรีย์บริเวณดินรอบรากของถั่วผี พบเชื้อแบคทีเรียทั้งหมด 39 ไอโซเลท โดย 12.82% (n = 5) สามารถละลายฟอสเฟตได้ จากการทดสอบบนอาหาร Pikovskayas agar (PVK) พบว่า มีค่าประสิทธิภาพการละลายฟอสเฟตอยู่ในช่วง 1.07 ± 0.17 ถึง 1.41 ± 0.19 ซึ่งไอโซเลท PHA25 สามารถละลายฟอสเฟตได้มากที่สุด รองลงมาคือไอโซเลท PHA38 PHA17 PHA31 และ PHA3 ตามลำดับ จากนั้นประเมินลักษณะการเจริญเติบโตของข้าวโพดข้าวเหนียวที่ผ่านการแช่เมล็ดในเซลล์แขวนลอยของเชื้อแบคทีเรียละลายฟอสเฟตไอโซเลท PHA17 PHA25 และ PHA38 พบว่าเมื่อข้าวโพดข้าวเหนียวอายุ 7 วัน ไอโซเลท PHA25 สามารถส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพดข้าวเหนียวด้านน้ำหนักสดรากและความยาวรากที่ยาวที่สุดแตกต่างอย่างมีนับสำคัญทางสถิติ (P<0.05) กับชุดควบคุมที่แช่เมล็ดในน้ำกลั่นนึ่งฆ่าเชื้อ และสามารถเพิ่มน้ำหนักสดราก ความสูงต้น ความยาวรากที่ยาวที่สุด และความยาวรากรวม คิดเป็น 13.33% 10.24% 47.5% และ 33.99% ตามลำดับ สำหรับปริมาณคลอโรฟิลล์ในใบข้าวโพดข้าวเหนียวอายุ 28 วัน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) โดยไอโซเลท PHA38 ส่งเสริมให้พืชสังเคราะห์แสงได้ดีที่สุด เพิ่มขึ้น 40.79% และ 30.67% จากชุดควบคุมและการใส่ปุ๋ยเคมี ตามลำดับ แต่ปริมาณฟอสฟอรัสในส่วนเหนือดินของข้าวโพดข้าวเหนียวมีค่ามากที่สุดในกรรมวิธีใส่ปุ๋ยเคมี รองลงมาเป็นการแช่เมล็ดในไอโซเลท PHA38 ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) กับชุดควบคุม โดยเพิ่มขึ้น 56.25%

References

Backer R, Rokem JS, Ilangumaran G, Lamont J, Praslickova D, Ricci E, et al. Plant growth-promoting rhizobacteria: context, mechanisms of action, and roadmap to commercialization of biostimulants for sustainable agriculture. Front. Plant Sci. 2018; 9:1473. doi:10.3389/ fpls.2018.01473.

Dharmanitivedya S. Plant growth promoting rhizobacteria: principles and utilization. Naresuan Agri. J. [Internet]. 2021 [cited 15 July 23021]; 18: e0180109. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/aginujournal/article/view/248047/171717.

Baber M, Fatima M, Abbas R, Qaisrani MM, Naz S, Hanif MK, et al. Weed rhizosphere: a source of novel plant growth promoting rhizobacteria (PGPR). Int. J. Biosci. 2018; 13(1): 224-234.

Vayuparp K. Enhancing productivity of waxy corn. Bangkok: Department of Agriculture; 2558. Field and Renewable Energy Crops Research Institute.

Seo Y, Park K, Chang E, Ryu S, Park J and Kim K. Effect of salicylic acid and abscisic acid on drought stress of waxy corn. Korean J. Crop Sci. 2014; 59(1): 54–58.

Varukonda SSKP, Vardharajula S, Shrivastava M, and SkZ A. Enhancement of drought stress tolerance in crops by plant growth promoting rhizobacteria. Microbiol Res. 2016; 184: 13-24.

Travlos IS and Chachalis D. Drought adaptation strategies of weeds and other neglected plants of arid environments. Plant Stress. 2008; 2(1): 40-44.

Noda K, Teerawatsakul M, Prakongvongs C and Chaiwiratnukul L. Major weeds in Thailand. 3rd ed. Bangkok: Mass & Media Co. LTD.; 1994; 164 p.

Sundara Rao WVB and Sinha MK. Phosphate dissolving microorganisms in the soil and rhizosphere. Indian J. Agr. Sci. 1963; 33: 272-278.

Zhao K, Penttinen P, Zhang X, Ao X, Liu M, Yu X, et al. Maize rhizosphere in Sichuan, China, hosts plant growth promoting Burkholderia cepacia with phosphate solubilizing and antifungal abilities. Microbiol. Res. 2014; 169: 76-82.

Junrungreang S, Rossopa B and Sajjaphan K. Effect of phosphate-solubilizing bacteria, Burkholderia sp. strain Rs01, on growth of Insee2 sweet corn. Kamphaengsean Acad. J. 2010; 8(1): 1-14.

Shafi J, Tian H and Ji M. Bacillus species as versatile weapons for plant pathogens: a review. Biotechnol. Biotechnol. Equip. 2017; 31(3): 446–459.

Paul D and Shinha SN. Isolation and characterization of phosphate solubilizing bacterium Pseudomonas aeruginosa KUPSB12 with antibacterial potential from river Ganga, India. Ann. Agric. Sci. 2017; 15(1): 130–136.

Saengsanga T. PGPR: The role in promoting and protecting plant under stress conditions. Thai Sci. Tech. J. 2014; 22(4): 553-570.

Detta C. and Basu P. Indole acetic acid production by a Rhizobium species from root nodules of a leguminous shrub Cajanus cajan. Microbiol. Res. 2000; 155: 123-127.

Wimat N, Pinjai P and Jittamart N. Phosphorus availability in soil and sugarcane growth by phosphate solubilizing bacteria. 2020; 38(4): 477-488.

Marasco R, Rolli E, Vigani G, Borin S, Sorlini C, Ouzari H, et al. Are drought-resistance promoting bacteria cross-compatible with different plant models?. Plant Signal Behav. 2013; 8(10): e26741. https://doi:10.4161/psb.26741.

Varukonda SSKP, Vardharajula S, Shrivastava M, and SkZ A. Multifunctional Pseudomonas putida strain FBKV2 from arid rhizosphere soil and its growth promotional effects on maize under drought stress. Rhizosphere. 2016; 1: 4-13.

ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียละลายฟอสเฟต (PHA) ต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพดข้าวเหนียวอายุ 7 วันเปรียบเทียบกับชุดควบคุม (Con 0) และใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15–15–15 (Con +)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-30

How to Cite

1.
หม่องอ้น เ, เผือกใจแผ้ว ฉ. อิทธิพลของแบคทีเรียละลายฟอสเฟตจากดินบริเวณรอบรากถั่วผีต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดข้าวเหนียว. Health Sci Tech Rev [อินเทอร์เน็ต]. 30 สิงหาคม 2022 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];15(2):118-27. available at: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/250746