การคัดแยกและระบุหาแอคติโนมัยซีทอาศัยในดิน อุทยานแห่งชาติภูลังกา นครพนม

Authors

  • กิงจันทน์ มะลิซ้อน สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร มหาวิทยาลยราชภัฏอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000

Keywords:

แอคติโนมัยซีท, ดิน, อุทยานแห่งชาติ, Actinomycetes, soil, national park

Abstract

ศึกษาคัดแยกและระบุหาแอคติโนมัยซีทจากดิน อุทยานแห่งชาติภูลังกา จังหวัดนครพนม สุ่มเก็บตัวอย่างจากดินบริเวณรอบรากของกล้วยไม้ ดินใต้ต้นไม้ ดินบริเวณเห็ดเจริญ และดินจอมปลวก สภาพดินเป็นดินร่วนสีน้ำตาล เตรียมตัวอย่างดินด้วยร้อยละ 10 แคลเซียมคาร์บอเนต ตากแห้งอุณหภมิห้องนาน 2 วัน คัดแยกสายพันธุ์แอคติโนมัยซีทด้วยวิธีเจือจางลดหลั่นต่อเนื่องและเทคนิคเกลี่ยลงจานอาหารเพาะเลี้ยงประกอบด้วยแป้งและโปรตีนเคซีน ระบุหาได้กลุ่มแยก 129 กลุ่ม ลักษณะของการยึดติดกลุ่มอัดแข็งแน่นบนอาหารเพาะเลี้ยง กลุ่มมีสีต่างๆได้แก่ ขาว เทา และ เหลือง ลักษณะคล้ายหนังฟอกนุ่มเหมือนกำมะหยี่หรือเหมือนบางสิ่งบดเป็นผง สายใยใต้อาหารส่วนใหญ่เป็นสีขาว ไม่แตก และมีรงควัตถุสีดำ น้ำตาล และเหลือง ก่อรูปสปอร์ไร้สิ่งหุ้มหลายรูปแบบ การศึกษารูปลักษณะบ่งถึงว่าเป็นสายพันธุ์ของวงศ์ Streptomyces, Microbispora และ Microtetraspora    

 

Isolation and identification of soil Actinomycetes inhabiting Phulangka national park, Nakhonphanom

Kingchan Malisorn*

Department of Biology, Faculty of Science, Udonthani Rajabhat University, Udonthani Province 41000

Isolation and identification of actinomycetes from soil were studied at Phulangka national park, Nakhonphanom province. The soil samples were randomly collected from rhizosphere soil of orchids, trees, mushroom growing soil and, anthill soil. The nature of soil was brown loam. Soil samples were pretreated by 10% calcium carbonate (CaCO3) and air dried 2 days at room temperature. The isolation of actinomycetes strain from soil samples was obtained by serial dilution method and spread plate technique on starch casein agar. One hundred and twenty nine isolates were identified. The characteristics of colonies adhesion, hardened packed on the surface of agar media. Colonies were white, grey, brown and yellow resemble velvet leather or something like powdery. Most of substrate mycelium was white in color, no broken mycelia were observed, melanin pigment black, brown and yellow. Conidia were formed in various manners. Morphological studies indicated that the strains belonged to genera Streptomyces, Microbispora and Microtetraspora.

Downloads

Published

2015-03-05

How to Cite

1.
มะลิซ้อน ก. การคัดแยกและระบุหาแอคติโนมัยซีทอาศัยในดิน อุทยานแห่งชาติภูลังกา นครพนม. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2015 Mar. 5 [cited 2024 Nov. 28];8(1):21-4. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/42660

Issue

Section

Research articles