ฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกลิ้นจี่ ต่อการยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือด
Keywords:
สารสกัดจากเปลือกลิ้นจี่, ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน, การเกาะติดของเกล็ดเลือด, Litchi pericarp extract, thrombosis, platelet adhesion, platelet aggregationAbstract
เกล็ดเลือดมีความสำคัญต่อกระบวนการห้ามเลือดขั้นปฐมภูมิ โดยอาศัยการเกาะติดของเกล็ดเลือดกับ หลอดเลือด การกระตุ้นเกล็ดเลือด และการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้เกิดเป็นก้อนลิ่มเลือดอุดบาดแผลในบริเวณที่ได้รับความเสียหาย แต่ในสภาวะที่มีการทำงานของเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตัน และส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยปัจจุบัน มีการใช้ยาต้านการทำงานของเกล็ดเลือด ในการรักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ ซึ่งยาดังกล่าวมักจะมีผลข้างเคียงอันไม่พึงประสงค์ และจากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์จากพืชธรรมชาติมีฤทธิ์ต้านการทำงานของเกล็ดเลือดได้ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากเปลือกลิ้นจี่ที่ความเข้มข้น 25, 50, 100, 200 และ 400 µg/ml ต่อกระบวนการเกาะติด และการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ผลการทดสอบพบว่า สารสกัดจากเปลือกลิ้นจี่ ในทุกๆความเข้มข้น มีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะติดของเกล็ดเลือดกับคอลลาเจนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) เท่ากับ 55.5, 82.0, 78.0, 79.0 และ 54.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้สารสกัดที่ความเข้มข้น 50, 200 และ 400 µg/ml ยังมีฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดที่ถูกกระตุ้นด้วยคอลลาเจน ได้เท่ากับ 18.7, 28.2 และ 35.0 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งเป็นค่าการยับยั้งที่มากกว่าแอสไพรินที่ใช้เป็น positive control จากงานวิจัยนี้จะเห็นได้ว่า สารสกัดจากเปลือกลิ้นจี่ สามารถยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดได้ และจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการพัฒนาสมุนไพรดังกล่าวนี้เพื่อใช้ในการป้องกันการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันต่อไป
Anti-platelet functions of litchi (Litchi chinensis Sonn.) pericarp extracts
Nungruthai Nilsri1*, Saengchai Nateeworanart1 and Supaporn Khamchun2
1 Faculty of Allied Health Sciences, Naresuan University, Phitsanulok Province 65000
2 School of Allied Health Sciences, University of Phayao, Phayao Province 56000
Platelet plays an important role in thrombogenesis by forming plugs on damaged vessel via adhesion, activation, and aggregation process. The platelet hyperactivity causes vascular thrombosis, which consequently leads to cardiovascular complications and death. Currently, anti-platelet drugs have been using clinically for inhibiting platelet aggregation. However, several studies reported the adverse effects of anti-platelet drugs. From previous studies, several natural compounds from plants have been known to exhibit the ability to inhibit platelet functions. This study aimed to investigate the inhibitory effects of ethanolic extract of litchi (Litchi chinensis Sonn.) pericarp, at concentrations of 25, 50, 100, 200, and 400 µg/ml, on platelet adhesion and platelet aggregation. The results showed that all concentrations of the extracts could significantly inhibit thrombin-induced platelet adhesion on collagen at 55.50%, 82.00%, 78.00%, 79.00% and 54.00%, respectively (p<0.01). Furthermore, the extracts at concentrations of 50, 200 and 400 µg/ml could significantly inhibit collagen-induced platelet aggregation with 18.7%, 28.2%, and 35.0%, respectively. Interestingly, the extracts had more potent effect over aspirin. In conclusion, the litchi pericarp extracts had anti-platelet functions and could be used for thrombosis prevention.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ผู้นิพนธ์ต้องรับผิดชอบข้อความในบทนิพนธ์ของตน มหาวิทยาลัยพะเยาไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยกับบทความที่ตีพิมพ์เสมอไป ผู้สนใจสามารถคัดลอก และนำไปใช้ได้ แต่จะต้องขออนุมัติเจ้าของ และได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน พร้อมกับมีการอ้างอิงและกล่าวคำขอบคุณให้ถูกต้องด้วย
The authors are themselves responsible for their contents. Signed articles may not always reflect the opinion of University of Phayao. The articles can be reproduced and reprinted, provided that permission is given by the authors and acknowledgement must be given.