การให้น้ำแบบหยดแก่ไม้ผลที่ปลูกเชิงแถบอนุรักษ์ในระบบเกษตรน้ำฝนบนที่ลาดชัน

Authors

  • ระวิน สืบค้า สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50200

Keywords:

การให้น้ำแบบหยด, การปลูกพืชเชิงแถบอนุรักษ์, Drip irrigation, alley cropping

Abstract

การให้น้ำแบบหยดใช้ร่วมกับการปลูกพืชเชิงแถบอนุรักษ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการปลูกพืชบนที่ลาดชัน และใช้พื้นฐานการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อให้มีต้นทุนไม่แพงและมีประสิทธิภาพสูง โดยเก็บเกี่ยวน้ำฝนไว้ในถังเก็บน้ำที่ติดตั้งอยู่ส่วนบนสุดเหนือพื้นที่เพาะปลูก เพื่อใช้ความดันจากแรงโน้มถ่วงในการส่งน้ำให้แก่ระบบน้ำหยด ปริมาณน้ำฝนที่เก็บเกี่ยวและใช้ให้น้ำแก่พืชพิจารณาจากการใช้น้ำของพืชหรือการคายระเหยของไม้ผลในช่วงฤดูแล้ง (มกราคม-พฤษภาคม) แปลงทดลองอยู่ในเทือกเขาหมู่บ้านถวน ต.บ้านทับ อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ความลาดชันประมาณ 45% ทำการออกแบบและติดตั้งระบบการให้น้ำแบบหยดโดยใช้หัวน้ำหยดแบบปรับปริมาณการจ่ายน้ำได้และใช้ท่อ LDPE (Low density polyethylene) เป็นท่อส่งน้ำ ดำเนินการทดลองให้น้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2554 และ 2555 ปริมาณการให้น้ำ 3 ลิตรต่อวันต่อต้น ระยะเวลา 120 วัน วางแผนการทดลองแบบ Completely Randomized Design (CRD) โดยกำหนดวิธีปฏิบัติ 2 วิธี จำนวน 4 ซ้ำ คือ 1) ไม่มีการให้น้ำ และ 2) ให้น้ำแบบหยด ทำการศึกษาเปรียบเทียบผลของการให้น้ำและไม่ให้น้ำที่มีต่อการกักเก็บน้ำในดิน การเจริญเติบโตของไม้ผล และสมบัติของดินบางประการ ผลการทดลองพบว่าการให้น้ำแบบหยดทำให้ปริมาณการกักเก็บน้ำในดินในช่วงความลึก 1 เมตร สูงขึ้นมากกว่าการไม่ให้น้ำ 80-100 มิลลิเมตร ตลอดช่วงการทดลองให้น้ำ ในขณะที่ส่วนที่ไม่ให้น้ำมีปริมาณน้ำในดินลดลงเรื่อยๆอย่างมีนัยสำคัญ บางต้นเหี่ยวเฉา และบางต้นแห้งตาย ส่วนการเจริญเติบโตพบว่าไม้ผลที่ให้น้ำมีความสูงเพิ่มขึ้นมากกว่าต้นที่ไม่ได้ให้น้ำเป็น 16, 45, 15, 37 และ 30% และมีทรงพุ่มมากกว่าเป็น 48, 115, 62, 73 และ 10% สำหรับมะม่วง มะนาว มะเฟือง ฝรั่ง และละมุด ตามลำดับ

 

Drip irrigation to the fruit tree hedgerow of alley cropping in rainfed agriculture on sloping land

Rawin  Surbkar1*

1 Department of Soil Science and Conservation, Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Muang, Chiang Mai 50200

Drip irrigation was applied in combination with the alley cropping to increase water use efficiency and productivity of the hedgerow-fruit trees planted on sloping highland rainfed agriculture.  Drip irrigation was designed based on engineering calculation with low cost investment and high efficiency system.  Rainwater was collected in the cylindrical container set at the upper top part of the experimental plots.  The drip irrigation water was supplied to each planting pit under gravitational force.  The amounts of water collected and supplied to each fruit tree were calculated based on the actual water use or evapotranspiration of the fruit tree in the hedgerow during the dry season (January-May).  Drip irrigation was designed and installed by using emitter with a flow rate adjustment and LDPE (Low density polyethylene) plastic pipe for water pipelines.  Drip irrigation experiment was carried out in the dry season of 2011-2012.  The rate of drip water application for each fruit tree was 3 liter/day for 120 day period.  The experiment was designed as a Completely Randomized Design (CRD) with four replications of 2 practice-treatments, namely (i) non-irrigation and (ii) drip irrigation.  The effects of drip irrigation on total stored soil water, plant growth and some soil properties were compared with the effects of non-irrigation.  The results showed that drip irrigation gave the higher amounts of stored soil water (approximately 80-100 mm) within 1 meter soil depth than that given by non-irrigation.  During the dry season, the stored soil water under drip irrigation was significantly increased whilst it was decreased under non-irrigation.  Fruit trees without drip irrigation were withered and some were died.  The results also showed that the plant canopy and height of fruit trees under drip irrigation were growing better than those without irrigation.  Vegetative growth under drip irrigation was higher than those under non-irrigation at 16, 45, 15, 37 and 30% for height, and canopy as 48, 115, 62, 73 and 10% for mango, lemon, star fruit, guava and sapodilla, respectively.

Downloads

Published

2014-11-30

How to Cite

1.
สืบค้า ร. การให้น้ำแบบหยดแก่ไม้ผลที่ปลูกเชิงแถบอนุรักษ์ในระบบเกษตรน้ำฝนบนที่ลาดชัน. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2014 Nov. 30 [cited 2024 Apr. 26];7(3):233-41. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/42696

Issue

Section

Research articles