ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการงอกละอองเกสรของว่านมหาลาภ

Authors

  • รุ่งนภา ช่างเจรจา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง 52000
  • พงศ์ยุทธ นวลบุญเรือง สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง 52000
  • สันติ ช่างเจรจา สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดลำปาง 52000

Keywords:

ว่านมหาลาภ, การงอกของละอองเกสร, สารเคมี, Eucrosia bicolor, pollen germination, chemical

Abstract

ผลของสารเคมีต่อการงอกละอองเกสรของว่านมหาลาภ ศึกษา ณ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์  ถึง พฤษภาคม 2556 โดยวางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ 6 ซ้ำต่อกรรมวิธี โดยเก็บละอองเกสรในช่วงเวลา 9.00-10.00 น. แล้วนำมาเลี้ยงในอาหารสูตรสังเคราะห์ Brewbaker & Kwack (1963) ประกอบด้วย H3BO3 0.1 กรัมต่อลิตร KNO3 0.1 กรัมต่อลิตร  MgSO47H2O  0.2 กรัมต่อลิตร และCa (NO3)24H2O  0.3 กรัมต่อลิตร ปรับ pH ของสารละลายเป็น 6.8 ให้ระดับของสารเคมีเพิ่มในอาหารโดยมี GA3 NAA IAA IBA BA และ 2,4-D ในระดับที่แตกต่างกันคือ ระดับ 0  25  50 และ 100 mg/l เก็บละอองเกสรที่เลี้ยงในอาหารไว้ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากผลการทดลองพบว่า  การให้สาร GA3 IAA ปริมาณ 25 mg/l ทำให้การงอกของละอองเกสรของต้นมหาลาภมีเปอร์เซ็นต์สูงที่สุด คือ 34.39 และ 45.03 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ส่วน BA ที่ระดับ 0 25 และ 100 mg/l มีเปอร์เซ็นต์การงอกของละอองเกสรมากที่สุด คือ 22.98  22.88 และ 22.51 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ การให้สาร IBA ปริมาณ 50 และ 100 mg/l ทำให้การงอกของละอองเกสรมีเปอร์เซ็นต์สูงที่สุด คือ 28.88 และ 35.47 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และการให้สาร NAA  0 25 และ 50 mg/l มีเปอร์เซ็นต์การงอกของละอองเกสรมากที่สุดคือ 22.98  23.71 และ 29.59  เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการให้สาร 2-4D ไม่มีผลต่อการงอกของละอองเกสร 

 

Effect of growth regulator on pollen germination of Eucrosia bicolor Ker-Gawl

Rungnapa  Changjeraja1*, Pongyuth  Naulboonreang1 and Sunti  Changjeraja1

1Agricultural Technology Research Institute, Rajamangala University of Technology Lanna, Lampang 52000

Effect of chemical on pollen germination of Eucrosia bicolor Ker-Gawl was studied at Agricultural Technology Research Institute, Rajamangala University of Technology Lanna, during February - May 2013. The experimental design was a completely randomized design with 6 replications. Pollens were collected during 9.00 - 10.00 a.m. of the day and were cultured in Brewbaker & Kwack (1963)’s medium that consist of KNO3 0.1 g/l  MgSO47H2O 0.2 g/l  and Ca (NO3)24H2O  0.3 g/l  and adjusted pH at 6.8. The study on GA3 NAA IAA IBA BA and 2,4-D concentrations was investigated by culturing in medium at the different concentrations at 0  25  50 and 100 mg/l. The pollen germination was evaluated using hanging drop culture technique. The slides were incubated at 25 ±    2 °C for 4 hrs and the germinated and non-germinated pollen grains were scored using a microscope.  

The results showed that the percentage of pollen germination gave the best results when the medium were supplied with GA3 IAA at 25 mg/l (i.e. 34.39 and 45.03%, respectively).  The medium were supplied with BA at 0 25 and 100 mg/l gave the greatest percentage of pollen germination (i.e 22.98 22.88 and 22.51%, respectively) while The medium were supplied with NAA at 0 25 and 50 mg/l gave the greatest percentage of pollen germination (i.e 22.98  23.71 and 29.59%, respectively). The 2, 4-D concentration did not affect percentage of pollen germination.

Downloads

Published

2014-07-30

How to Cite

1.
ช่างเจรจา ร, นวลบุญเรือง พ, ช่างเจรจา ส. ผลของสารควบคุมการเจริญเติบโตต่อการงอกละอองเกสรของว่านมหาลาภ. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2014 Jul. 30 [cited 2024 Dec. 22];7(2):126-30. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/42763

Issue

Section

Research articles