ความสัมพันธ์ของอินทรียวัตถุกับค่าความเป็นกรดของพืชหมักบางชนิด

Authors

  • มนตรี ปัญญาทอง สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • กฤตภาค บูรณวิทย์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติมหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

Keywords:

พืชหมัก, อินทรียวัตถุ, ค่าความเป็นกรด, Silage, organic matter, pH

Abstract

ผลการศึกษาความสัมพันธ์ของอินทรียวัตถุกับค่าความเป็นกรดของพืชหมักบางชนิดพบว่าปริมาณอินทรียวัตถุของพืชหมัก 3 ชนิดคือ เปลือกและซังข้าวโพด ผักตบชวา และหญ้าขน มีแนวโน้มลดลงตามค่า pH ที่ลดลงในสัปดาห์ที่ 2 ของการหมัก และคงที่ตลอดระยะเวลาการหมัก 8 สัปดาห์ โดยพบว่า เปลือกและซังข้าวโพดหมักมีค่าอินทรียวัตถุเฉลี่ยสูงที่สุด (79.19 ± 1.53 %) ตามด้วยหญ้าขนหมัก (75.57 ± 0.59 %) และผักตบชวาหมัก (63.68 ± 3.75 %) ตามลำดับ (p<0.05) ส่วน pH เฉลี่ยของผักตบชวาหมักมีค่าต่ำสุด (3.93 ± 0.79) รองลงมาคือเปลือกและซังข้าวโพดหมัก (4.71 ± 0.35) และหญ้าขนหมัก (4.73 ± 0.18) ตามลำดับ (p<0.05) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือปริมาณอินทรียวัตถุในพืชหมักจะลดลงเมื่อค่า pH ของการหมักลดต่ำลง 

 

The relationship of organic matter to the pH of some silages

Montri Punyatong1*  and  Krittaphak Buranawit1

1Major of Animal Science, School of Agriculture and Natural Resources, University of Phayao, Phayao Province 56000

Silage is the roughage sources for ruminants in times of scarcity. The study was found that the amount of organic matter in 3 types of silage plants as husk and corn cobs, water hyacinth and Para grass tends to decrease with the pH level which decreased in week 2 of fermentation and constant throughout the 8 week of fermentation period. The average organic matter of husk and corn cob silage was highest (79.19 ± 1.53), followed by Para grass silage (75.57 ± 0.59) and water hyacinth silage (63.68 ± 3.75), respectively (p<0.05). The average pH level of hyacinth silage was lowest value (3.93 ± 0.79), followed by husk and corn cobs silage (4.71 ± 0.35) and Para grass silage (4.73 ± 0.18), respectively (p<0.05). These result showed the signified of relationship between the decrease of organic matter when the pH of silages were decreased.

Downloads

Published

2014-07-30

How to Cite

1.
ปัญญาทอง ม, บูรณวิทย์ ก. ความสัมพันธ์ของอินทรียวัตถุกับค่าความเป็นกรดของพืชหมักบางชนิด. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2014 Jul. 30 [cited 2024 Apr. 24];7(2):137-41. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/42773

Issue

Section

Research articles