ความสามารถต้านอนุมูลอิสระและสารออกฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน

Authors

  • สุรศักดิ์ ใจเขียนดี สาขาวิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • นิศรา บุญเกิด สาขาวิชาจุลชีววิทยาและปรสิตวิทยา คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

Keywords:

สารต้านอนุมูลอิสระ, สารประกอบฟีโนลิก, พืชสมุนไพร, เบาหวาน, Antioxidant, phenolic compounds, medicinal plant, diabetes

Abstract

วัตถุประสงค์การศึกษานี้เพื่อตรวจสอบความสามารถต้านอนุมูลอิสระและสารออกฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชสมุนไพรรักษาโรคเบาหวานจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ บอระเพ็ด มะระขี้นก มะเขือพวง และตำลึง ตัวอย่างสกัดด้วยน้ำกลั่นและเอทานอลร้อยละ 70 ความสามารถต้านอนุมูลอิสระประเมินค่าด้วยวิธี 2, 2’-azinobis-3-ethylbenzotiazoline-6-sulfonic acid (ABTS) และ 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) แสดงว่า สารสกัดมะเขือพวงด้วยน้ำกลั่นได้มาซึ่งความสามารถต้านอนุมูลอิสระสูงสุด ด้วยสารสกัดโทรล็อกซ์ 0.9 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัม และ สารสกัดกรดแอสคอรบิค 11.9 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัมจากทั้งสองวิธี ขณะที่สารสกัดตำลึงด้วยเอทานอลร้อยละ 70 มีคุณค่าความสามารถต้านอนุมูลอิสระสูงสุดด้วยสารสกัด โทรล็อกซ์ 1.4 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัม และ กรดแอสคอรบิค 13.5 ไมโครโมลต่อมิลลิกรัมจากทั้งสองวิธีเช่นกัน การวัดสารฟีโนลิกทั้งหมดด้วยวิธี Folin-Ciocalteu ได้สารสกัดสารฟีโนลิกในสารสกัดตำลึงสูงสุด (สารสกัด 452.3 มิลลิกรัมต่อกรัม) สารออกฤทธิ์ในสารสกัดตรวจวัดได้จากสารสกัดตำลึงด้วยวิธี high performance liquid chromatography (HPLC) พบว่าสารสกัดจากพืชสมุนไพรแต่ละชนิดมีสารประกอบคาเทชินส์

 

Antioxidant capacity and active compound of extracts from medicinal plants use for the treatment of diabetes

Surasak  Chaikhiandee1*  and  Nitsara  Boonkerd2

1* Department of Biochemistry, School of Medical Science, University of Phayao, Phayao Province 56000

2  Department of Microbiology and Parasitiology, School of Medical Science, University of Phayao, Phayao Province 56000

The aim of this study was to investigate antioxidant capacity and active compound of extracts from four medicine plants use for the treatment of diabetes: Wormwood; Bitter gourd; Turkey berry; and Ivy gourd. The samples extracts were prepared in distilled water and 70% ethanol. The antioxidant capacity as evaluated by the 2, 2’-azinobis-3-ethylbenzotiazoline-6-sulfonic acid (ABTS) and 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) assay showed that Turkey berry extracted with distilled water obtained highest antioxidant capacities 0.9 µmole Trolox/mg extracts, and 11.9 µmole ascorbic acid/mg extracts from both methods while Ivy gourd extracted with 70% ethanol had maximum values of antioxidant capacities 1.4 µmole Trolox/mg extracts, and 13.5 µmole ascorbic acid/mg extracts, from both methods as well. The total phenolic content measured by Folin-Ciocalteu method had the highest phenolics content in the Ivy gourd extract (452.3 mg/g extracts). The active compound in the extracts which was detected in the Ivy gourd extract by high performance liquid chromatography (HPLC) technique showed that the extracts from medicinal plants, each with catechin components.

Downloads

Published

2013-11-30

How to Cite

1.
ใจเขียนดี ส, บุญเกิด น. ความสามารถต้านอนุมูลอิสระและสารออกฤทธิ์ของสารสกัดจากพืชสมุนไพรรักษาโรคเบาหวาน. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2013 Nov. 30 [cited 2024 Mar. 29];6(3):194-201. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/42830

Issue

Section

Research articles