การชักนำแคลลัสจากการเพาะเลี้ยงเมล็ดของข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข 6

Authors

  • ภพเก้า พุทธรักษ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • วารุต อยู่คง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • รัฐพร จันทร์เดช คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290
  • พีระวุฒิ วงศ์สวัสดิ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดพะเยา 50200
  • มณฑล สงวนเสริมศรี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

Keywords:

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, ข้าวหอมมะลิ 105, ข้าวเหนียว กข 6, การชักนำให้เกิดแคลลัส, In vitro, jasmine rice 105, RD 6 glutinous rice, callus induction

Abstract

การเพาะเลี้ยงเมล็ดข้าวหอมมะลิ 105  และข้าวเหนียว กข 6 บนสูตรอาหาร Murashige and Skoog (MS, 1962) ที่เติม 2,4-dichlorophenoxyacetic acid (2, 4-D) ความเข้มข้น 0, 0.1, 0.5, 1.0 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าสูตรอาหาร MS ที่เติม 2, 4-D สามารถชักนำให้เกิดแคลลัสได้ โดยสูตรอาหาร MS ที่เติม 2, 4-D ความเข้มข้น 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ชักนำให้แคลลัสมีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะแข็ง เกาะตัวกันแน่น และสีเหลือง หลังจากนั้นนำแคลลัสของข้าวเหนียว กข 6 มาเพาะเลี้ยงบนสูตรอาหาร MS ที่เติม N6 benzyladenine (BA) ความเข้มข้น 0, 1.0, 3.0, 5.0 และ 7.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ α-naphthaleneacetic acid (NAA) ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร เพื่อชักนำให้เกิดต้น (ยอดและราก) พบว่า สูตรอาหาร MS ที่เติม BA ความเข้มข้น 3.0 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ NAA ความเข้มข้น 0.1 มิลลิกรัมต่อลิตร สามารถชักนำให้เกิดต้น (ยอดและราก) เฉลี่ย 2.4 ต้นต่อแคลลัส ด้วยเปอร์เซ็นต์การเกิดต้น 20%

 

Callus induction from seeds in vitro culture of rice KDML 105 and glutinous rice RD 6

Phopgao  Buddharaksa1*, Warut U-kong2, Ruttaporn  Chundet2, Pheravut  Wongsawad3 and Mondhon  Sanguansermsri4*

1 School of Pharmaceutical Sciences, University of Phayao, Phayao Province 56000

2 School of Science, University of Maejo, Chiangmai Province 56000

3 School of Science, University of Changmai, Chiangmai Province 56000

4* School of Pharmaceutical, University of Phayao, Phayao Province 56000

The seeds of rice KDML 105 (Orysa sativa L.) and glutinous rice RD 6 (Orysa sativa L.) were in vitro cultured on Murashige and Skoog (MS, 1962) medium supplemented with 2, 4-dichlorophenoxyacetic acid    (2, 4-D) at 0, 0.1, 0.5, 1.0 and 2.0 mg/L for 6 weeks. The results showed that callus were induced on all the MS medium added with 2, 4-D. Significant differences were observed between the treatment. The largest callus was found on the MS medium added with 2.0 mg/L 2, 4-D with hard, compact and yellow.  After that, the glutinous rice RD 6 calli were cultured on MS medium supplemented the combination of N6 benzyladenine (BA)  at concentration 0, 1.0, 3.0, 5.0 and 7.0 mg/L with  α-naphthaleneacetic acid (NAA) at concentration 0.1 mg/L for plant regeneration (shoot and root). The results showed that MS medium supplemented the combination 3.0 mg/L BA with 0.1 mg/L NAA was regenerated the plant (shoots and roots) average 2.4 shoots/callus with the 20% of regeneration rate.

Downloads

Published

2013-07-30

How to Cite

1.
พุทธรักษ์ ภ, อยู่คง ว, จันทร์เดช ร, วงศ์สวัสดิ์ พ, สงวนเสริมศรี ม. การชักนำแคลลัสจากการเพาะเลี้ยงเมล็ดของข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวเหนียว กข 6. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2013 Jul. 30 [cited 2024 Dec. 22];6(2):100-5. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/42844

Issue

Section

Research articles