การศึกษาคดีจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมประเทศไทย

Authors

  • นวลจันทร์ พันธุเมธามาตย์ ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก 65000
  • อภิรักษ์ วงศ์รัตนชัย ภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก 65000

Keywords:

วิชาชีพ, จรรยาบรรณ, ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม, Profession, ethics, pharmacy profession

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์คดีจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นสำนวนคดี และบันทึกคำสั่งสภาเภสัชกรรมเกี่ยวกับจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 - กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 จำนวน 546 คดี เครื่องมือวิจัยเป็นแบบบันทึกข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างธันวาคม พ.ศ. 2552 – กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า สัดส่วนเพศหญิงกระทำผิดจรรยาบรรณสูงกว่าเพศชายเกือบเท่าตัว (1:1.7) จังหวัดที่พบการกระทำผิดมากที่สุด คือ กรุงเทพฯ (ร้อยละ 84.6) ภูมิภาคที่พบการกระทำผิดมากที่สุด คือ ภาคกลาง (ร้อยละ 88.6) เภสัชกรที่กระทำผิดมักทำงานในบริษัทยา (ร้อยละ 22.9) คดีที่พบมากที่สุด คือ เภสัชกรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ แต่ไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามเวลาที่แจ้งไว้ (ร้อยละ 88.0) เภสัชกรมักกระทำผิดจรรยาบรรณวิชาชีพทั้งสามข้อ คือ ข้อ 1 (เคารพกฎหมายบ้านเมือง) ข้อ 2 (ไม่ทำให้วิชาชีพเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์) และข้อ 6 (รักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพให้ดีที่สุด) (ร้อยละ 80.9) สภาเภสัชกรรมมักตัดสินโทษเภสัชกรผู้กระทำผิดด้วยการพักใช้ใบอนุญาต (ร้อยละ 76.5) โดยเฉลี่ย 3.6 เดือน การศึกษาต่อไปควรมุ่งหาแนวทางการพัฒนา และการควบคุมมาตรฐาน และจรรยาบรรณวิชาชีพเภสัชกรรม

 

Ethics case studies of pharmacy profession, Thailand

Nuanchan  Phanthumetamat1  and  Apiruk  Wongruttanachai1*

1 Department of Pharmacy Practice, Faculty of Pharmaceutical Sciences, Naresuan University, Phitsanulok 65000

This research aimed to study the situational ethics cases of pharmacy professionals. Ethical cases of the pharmacists and the command record of pharmacy profession of 546 cases from 1994 until February, 2010 were included. Data were collected using data record form during December, 2009 to February, 2010. Data were analyzed using descriptive statistics. The results revealed that almost double proportion of females than males performed unethical acts (1:1.7). The cases were mostly found in Bangkok (84.6%), and in the central region of the provincial area (88.6%). Offending pharmacists’ were often those who worked in pharmaceutical companies (22.9%). The most common unethical act involved pharmacists who have a duty to perform but did not act by the time notified (88.0%). Pharmacists were often guilty of professional ethics  offending pharmacists’by the license suspension (76.5%) on an average of 3.6 months. Further studies should aim to find resolutions to improve and control standards of pharmaceutical and professional ethics.

Downloads

How to Cite

1.
พันธุเมธามาตย์ น, วงศ์รัตนชัย อ. การศึกษาคดีจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมประเทศไทย. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2015 Dec. 3 [cited 2024 Apr. 26];6(2):135-4. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/43262

Issue

Section

Research articles