ปัจจัยคาดทำนายความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักศึกษาชายชั้นปีที่ 1ในมหาวิทยาลัย

Authors

  • เนตรนภา พรหมมา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000
  • จรวยพร สุภาพ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400
  • กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400
  • พิมพ์สุรางค์ เตชะบุญเสริมศักดิ์ ภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400
  • สุปรียา ตันสกุล ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 10400

Keywords:

เพศสัมพันธ์ก่อนสมรส, นักศึกษาชาย, Premarital sexual, male student

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาสัดส่วนความตั้งใจและปัจจัยที่มีอิทธิพลสามารถคาดทำนายความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชายชั้นปีที่ 1 จำนวน 261 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชายชั้นปีที่ 1 มีความตั้งใจที่จะมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส ร้อยละ 25.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05) กับความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส ได้แก่ ค่าใช้จ่ายที่ได้รับ/เดือน สถานที่พักอาศัย เจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส บรรทัดฐานของกลุ่มอ้างอิงเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การรับรู้ภาวะเสี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส การรับรู้การดูแลของพ่อแม่และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์  ปัจจัยที่สามารถคาดทำนายความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสประกอบด้วย เจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส การรับรู้การดูแลของพ่อแม่และพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 42.8  ผลการวิจัยนี้เสนอแนะให้พ่อแม่ควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการของวัยรุ่นและมีความรู้เรื่องเพศศึกษาอย่างถูกต้อง ส่วนสถานศึกษาควรพัฒนารูปแบบการสอนเพศศึกษา จัดโปรแกรมส่งเสริมเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสทางบวก ให้ความรู้เกี่ยวกับผลจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสและเฝ้าระวังติดตามพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นอย่างเหมาะสม  

 

Factors predict intentions to have premarital sexual amongst freshman college male students 

Natnapa  Promma1*,  Jarueyporn  Suparp2,  Kanittha  Chamroonsawasdi2, Pimsurang  Theachaboonsermsak2  and  Supreya  Tansakul3

1 School of Medicine, University of Phapyo, Phapyo Province 56000

2 Department of  Family Health, Faculty of Public Health, Mahidol University, Bangkok 10400

3 Department of Health Education and Behavior, Faculty of Public Health, Mahidol University, Bangkok 10400

This cross-sectional survey research were to study the proportion of intention to engage in a premarital sexual relationship and factors predicting the intention to engage in a premarital sexual relationship among 1st year male students in one university in Thailand. A total of 261 1st year male students were collected through a questionnaire in September 2010. The results revealed that 25.3 percent of the sample had an intention to engage in a premarital sexual relations.  Factors with statistical significance (p-value < 0.05) associated with the intention to engage in a premarital sexual relationship were: student’s monthly expense, habitation, attitude toward premarital sexual relationship, subjective norms, sexual risk behavior, perceived sexual risk behavior, perceived parental monitoring, and student’s inappropriate behavior. Inferential statistics of stepwise multiple regression analysis was employed for predicting indicators related to intention to engage in a premarital sexual relationship. The result found that factors predicting were:  attitude toward premarital sexual relationship, perceived parental monitoring, and the student’s inappropriate behavior. All three variables combined could predict the probability of the intention to engage in a premarital sexual relations at 42.8 percent. Recommendations of this research are that parents should be encouraged to understand the development of adolescents and have accurate knowledge about sex education in order to advise their children. The university should develop an appropriate model of sex education and set programs to promote positive attitude toward premarital sexual relationship, proper knowledge about the consequence of a premarital sexual relationship and responsible sexual behavior in adolescents. 

Downloads

How to Cite

1.
พรหมมา เ, สุภาพ จ, จำรูญสวัสดิ์ ก, เตชะบุญเสริมศักดิ์ พ, ตันสกุล ส. ปัจจัยคาดทำนายความตั้งใจมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของนักศึกษาชายชั้นปีที่ 1ในมหาวิทยาลัย. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2015 Dec. 3 [cited 2024 Apr. 20];6(2):157-6. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/43264

Issue

Section

Research articles