ความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้และสภาพป่าสนผสมเต็งรังในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • ตฤณ เสรเมธากุล คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • สุนทร คำยอง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • นิวัติ อนงค์รักษ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
  • เกรียงศักดิ์ ศรีเงินยวง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ 50290

Keywords:

ป่าสนผสมป่าเต็งรัง, ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้, สภาพป่า, ชนิดย่อยของป่าไม้, Pine-dry dipterocarp forest, plant species diversity, forest condition, forest subtype

Abstract

การศึกษาความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้และสภาพของป่าสนผสมเต็งรังในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ได้ทำการศึกษาในช่วง มกราคม พ.ศ. 2552 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งประกอบไปด้วยป่าสน 3 ชนิดย่อย คือ สนผสมเหียง (pine-Dipterocarpus obtusifolius, P-DDF1) สนผสมพลวง (pine-D. tuberculatus, P-DDF2) และสนผสมเต็ง (pine-Sorea obtusa, P-DDF3) โดยใช้แปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 40 X 40 ม. จำนวน 68 แปลง วางแปลงแบบสุ่มกระจายในพื้นที่ที่ระดับความสูงประมาณ 900-1,200 ม. จากระดับน้ำทะเล ทำการวัดเส้นรอบวงลำต้นที่ระดับ 1.3 ม. จากพื้นดินของต้นไม้ที่มีความสูงตั้งแต่ 1.5 ม. วัดความสูงและขนาดทรงพุ่ม พบว่าป่าสนผสมเหียง พลวงและเต็ง มีจำนวนชนิดพันธุ์ไม้ 37, 46 และ 56 ชนิด ตามลำดับ พันธุ์ไม้เด่นที่มีความถี่ของการพบมากที่สุด (80-100%)    ในป่าสนที่มีไม้เหียงเด่นคือ สนสองใบ (Pinus merkusii) เหียง (D. obtusifolius) และรักใหญ่ (Gluta usitata) ในป่าสนที่มีไม้พลวงเด่น คือ สนสองใบ (P. merkusii) พลวง (D. tuberculatus) และรักใหญ่ (G. usitata) และป่าสนที่มีไม้เต็งเด่น คือ เต็ง (S. obtusa) และสนสามใบ (P. kesiya) ดัชนีความสำคัญของสนสองใบในป่าที่มีไม้เหียงและพลวงเด่นมีค่ามากกว่าพันธุ์ไม้ชนิดอื่น ขณะที่ป่าสนที่มีไม้เต็งเด่นคือ สนสามใบ  ดัชนีความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ตามสมการ Shannon-Wiener มีค่า (2.55)  (3.66) และ (3.88) ตามลำดับแสดงว่าป่าสนผสมเหียงมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์น้อยกว่า แต่สำหรับค่าดัชนีบ่งชี้สภาพป่า (FCI) ซึ่งพิจารณาจากขนาดเส้นรอบวงและจำนวนต้นในสังคมพืชทั้ง 3 ชนิดย่อยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ (25.06)  (20.33) และ (18.74) ตามลำดับ ชี้ให้เห็นว่าป่าสนผสมเหียงกลับมีสภาพป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่มากกว่าป่าสนชนิดอื่น

 

Plant species diversity and forest condition of pine-dry dipterocarp forest in Kunlaya Ni Wattana District, Chiang Mai Province

Trin  Seramethakun1, Soontorn  Khamyong1, Niwat  Anongrak1 and Kriangsak  Sri-ngernyuang2

1* Faculty of Agriculture, Chiang Mai University, Chiang Mai Province 50200

Faculty of Architecture and Environmental Design, Maejo University, Chiang Mai Province 50290  

Three subtypes of pine-dry dipterocarp forest in Kunlaya Ni Wattana district, Chiang Mai province were studied during January 2009 to December 2010 for plant species diversity and forest condition including pine-Dipterocarpus obtusifolius (P-DDF1), pine-D. tuberculatus (P-DDF2) and pine-Shorea obtusa (P-DDF3). Sixty eight sample plots, each 40 x 40 m were sampled based on a random stratified method sampling in an area ranging from 900 to 1,200 m altitude. Stem girth at 1.3 m above ground, height and crown diameter of all trees more than 1.5 m height were measured. The species richness of P-DDF1, P-DDF-2 and PDDF-3 was 37, 46 and 56 species, respectively. Dominant trees having the highest frequency (80-100%) were different among subtypes. The P-DDF1 was found to have 3 species : Pinus  merkusii; D. obtusifolius and Gluta usitata while P. merkusii; D. tuberculatus and G. usitata were confied to the P-DDF2 subtype. The most abundance tree in P-DDF3 were S. obtusa and P. kesiya. Species diversity indexes by the Shannon-Wiener index indicated that P-DDF1 had less species diversity (2.55) than P-DDf2 (3.66) and P-DD3 (3.88). Mean values of the forest condition indexes (FCI) for the P-DDF1, P-DDF2 and P-DDF3 were 25.06, 20.33 and 18.74 respectively. The results indicated a higher abundance and could also implied to better forest conditions of P-DDF1 than other subtypes.

Downloads

Published

2013-04-01

How to Cite

1.
เสรเมธากุล ต, คำยอง ส, อนงค์รักษ์ น, ศรีเงินยวง เ. ความหลากหลายชนิดพันธุ์ไม้และสภาพป่าสนผสมเต็งรังในอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2013 Apr. 1 [cited 2024 Apr. 27];6(1):52-63. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/43278

Issue

Section

Research articles