แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา

Authors

  • ทิพวัลย์ ไชยวงศ์ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120
  • นิตยา ขอนพิกุล งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120
  • พงษ์ลัดดา พันธ์สืบ งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120
  • สมนึก ชีวาเกียรติยิ่งยง งานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา 56120
  • สัณหวัช ไชยวงศ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา 56000

Keywords:

โรคหลอดเลือดหัวใจ, ภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน, Acute Coronary Syndrome (ACS), angina pectoris, patient caring guideline, emergency room (ER)

Abstract

การศึกษาครั้งนี้ เพื่อพัฒนาและประเมินผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอกคำใต้ ทำการเก็บตัวอย่างใน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มแพทย์และพยาบาล โรงพยาบาลดอกคำใต้ จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจรักษาในห้องฉุกเฉินด้วยอาการเจ็บอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และแพทย์พิจารณาส่งตัวเพื่อรับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพะเยา ระหว่าง  เดือน ตุลาคม 2551 – กันยายน 2553  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบ่งออกเป็น 1) เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ แนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บอกจาก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดของ Conduct and Utilization of Research in Nursing (CURN model) และ  2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบบันทึกข้อมูลความเจ็บป่วย และการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ตามแบบฟอร์มเวชระเบียน โรงพยาบาลดอกคำใต้ และแบบประเมินผู้ป่วยเจ็บหน้าอกจากกลุ่มอาการกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งแบบประเมินดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากแพทย์เฉพาะทางโรงพยาบาลพะเยา และโรงพยาบาลดอกคำใต้ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่าความตรงของเนื้อหา และค่าความเที่ยงของเครื่องมือ เท่ากับ .90 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์โดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน และร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า ด้านการพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ใช้กรอบแนวคิดของConduct and Utilization of Research in Nursing (CURN model) ดังนี้  1) การแจกแจงปัญหา  2) สืบค้นและรวบรวมข้อมูลความรู้หลักฐานเชิงประจักษ์  3) นำความรู้ที่ได้มาออกแบบสร้างแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย  4) วางแผนการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วย 5) ตรวจสอบการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติที่สร้างขึ้น และ 6) พัฒนาการคงไว้ซึ่งแนวทางการดูแลผู้ป่วย ซึ่งทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง ได้รับการส่งต่ออย่างรวดเร็ว ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในห้องฉุกเฉินลดลง และด้านผลของการใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน พบว่า ในปี 2552 และ 2553 ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่แรกรับผู้ป่วยจนถึงได้ทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เท่ากับ 10 นาที และ 5 นาที ตามลำดับ ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ได้ผลการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจจนถึงการ stat order เท่ากับ 5 นาที ระยะเวลาเฉลี่ยในการดูแลผู้ป่วยตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในห้องฉุกเฉิน เท่ากับ 30 นาทีและ 20 นาที ตามลำดับ ระยะเวลาเฉลี่ยในการส่งต่อผู้ป่วยไปรับการรักษาต่อเนื่องที่โรงพยาบาลพะเยา ภายใน 30 นาที เท่ากับ ร้อยละ 100 มีการปฏิบัติตาม Standing Order/CPG เท่ากับ ร้อยละ  100 และไม่พบจำนวนผู้ป่วยเสียชีวิตในห้องฉุกเฉินจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน  ข้อเสนอแนะ : การดูแลผู้ป่วยภาวะเจ็บอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ควรมีการพัฒนาเพื่อให้เกิดการดูแลต่อเนื่องอย่างเป็นระบบเพื่อให้ผู้ป่วยและครอบครัวสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการเกิดอาการของโรคได้อย่างถูกต้อง มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งควรส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยซึ่งจะนำมาซึ่งการดูแลสุขภาพชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป

 

Patient caring guideline for angina pectoris on acute coronary syndrome (ACS) in emergency room (ER) Dok Kham Tai Hospital Phayao Province

Tippawan Chaiwong1,  Nittaya Khonpikun1,  Somnuk Chewakiatyingyong1,  Pongladda Phanseub1 and Sanhawat Chaiwong2

1Emergency Room Dok Kham Tai Hospital Phayao Province 56120

2 School of Medicine, University of Phoyao, Phoyao Province 56000

The purpose of this study was to develop and evaluate the guideline used for angina pectoris on the Acute Coronary Syndrome (ACS) patients who purchased in Emergency room (ER) Dok Kham Tai hospital Phayao province. The populations were divided into 2 groups including 1) 20 of doctor medicine and regular nurses who work in ER., angina pectoris on the Acute Coronary Syndrome patients who purchased from October, 2008 to September, 2010. The instruments were constructed guideline based on CURN and constructed questionnaire. Three experts verified the instruments. The validity and reliability was .90 and .80 respectively. The guideline based on Conduct and Utilization of Research in Nursing model (CURN) was ordered; 1) systematic problem identification, 2) assessment of research, 3) design of practice innovation, 4) conduct of clinical trial, evaluation and decision, 5) plan for diffusion innovation and 6) mechanism of maintenance . The data collection was aggregated in 2009 and 2010. The descriptive statistics was used in terms of frequency and percentage. The result showed that the mean time from admission to electrocardiogram (EKG) was 10 and 5 minutes, respectively. The mean time of EKG to stat order was 5 minutes. The mean time of caring under CURN model in ER was 30 and 20 minutes, respectively. All of patients who imputed from Dok Kham Tai hospital to Phayao general hospital within 30 minutes were 100%. Furthermore, none of the Acute Coronary Syndrome (ACS) patients was not die in ER. Recommendation: The caring of Acute Coronary Syndrome (ACS) patients should be done with systematics including patients, care giver, provider and community to control and prevention for unneeded deaths.

Downloads

How to Cite

1.
ไชยวงศ์ ท, ขอนพิกุล น, พันธ์สืบ พ, ชีวาเกียรติยิ่งยง ส, ไชยวงศ์ ส. แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเจ็บหน้าอกจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. Health Sci Tech Rev [Internet]. 2015 Dec. 4 [cited 2024 Apr. 26];6(1):77-85. Available from: https://li01.tci-thaijo.org/index.php/journalup/article/view/43286

Issue

Section

Research articles