ผลของการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารร่วมกับ PMSG และ HCG ต่ออัตราการเป็นสัด และอัตราการผสมติดในแพะสาวพันธุ์พื้นเมืองไทย

Authors

  • จักรพันธ์ ชาสมบัติ

Abstract

 แพะสาวพันธุ์พื้นเมืองไทย อายุ 4-6 เดือนน้ำหนักเฉลี่ย 10-12 กิโลกรัม จำนวน 24 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว กลุ่มที่ 1 กลุ่มควบคุม กลุ่มที่ 2 และ 3 ให้กวาวเครือขาว 15 และ 30 กรัม/ตัว/วัน นาน 15 วัน ร่วมกับการฉีดฮอร์โมน Pregnant Mare Serum Gonadotropin (PMSG) ขนาด 400 IU และ Human Chorionic Gonadotropin (HCG) 200 IU ในโปรแกรมการเหนี่ยวนำการเป็นสัด ผลการทดลองพบว่า แพะกลุ่มที่ 2 และ 3 มีอัตราการเป็นสัดเท่ากับ 75 และ 75% ตามลำดับ สูงกว่ากลุ่มควบคุม (25%) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) และพบการเป็นสัดของแพะกลุ่มที่ 3 ในวันที่ 1 ส่วนกลุ่มที่ 2 และ 3 พบในวันที่ 2 และ 5 ตามลำดับ หลังสิ้นสุดการเหนี่ยวนำการเป็นสัดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ระยะเวลาการเป็นสัดของแพะ กลุ่มที่ 3 นานกว่ากลุ่มที่ 2 และกลุ่มควบคุม (78±34.00, 38±4.00 และ36±12.00 ชั่วโมง ตามลำดับ) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อัตราการผสมติดของแพะกลุ่มที่ 3 สูงกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ 3 (83.33, 50.00 และ 33.00 % ตามลำดับ) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) อัตราการกลับสัดหลังผสมของแพะกลุ่มที่ 2 ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ 3 (16.66, 50.00 และ 66.00% ตามลำดับ) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (P<0.05) อัตราการคลอดลูกแฝดของแพะกลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่สูงกว่ากลุ่มควบคุม (P<0.05) (80.00, 50.00 และ 0.00% ตามลำดับ) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) จากการทดลอง พบว่าแพะที่ได้รับกวาวเครือขาว 15 กรัม/ตัว/วัน มีอัตราการเป็นสัด วันที่พบการเป็นสัดหลังจากสิ้นสุดโปรแกรมการเหนี่ยวนำ ระยะเวลาของการเป็นสัด อัตราการผสมติด และอัตราการคลอดลูกแฝด มีแนวโน้มดีที่สุด
คำสำคัญ : กวาวเครือขาว อัตราการเป็นสัด อัตราการผสมติด แพะพันธุ์พื้นเมืองไทย

Downloads

Published

2011-09-14

How to Cite

ชาสมบัติ จ. (2011). ผลของการเสริมกวาวเครือขาวในอาหารร่วมกับ PMSG และ HCG ต่ออัตราการเป็นสัด และอัตราการผสมติดในแพะสาวพันธุ์พื้นเมืองไทย. Princess of Naradhiwas University Journal, 1(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53625