สัมประสิทธิ์กำลังอัดของคอนกรีตตามลักษณะการบ่ม งานถนนผิวจราจรแบบคอนกรีต

Authors

  • ปรีชา สะแลแม

Abstract

 ตามมาตรฐาน สถ.- มถ.- 027 มาตรฐานงานผิวจราจรแบบคอนกรีต ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้กำหนดวิธีการบ่มคอนกรีตงานถนน 4 ลักษณะคือ ใช้กระสอบป่านคลุมรดน้ำให้ชุ่ม ใช้น้ำขังเหนือผิวหน้าคอนกรีตไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร ใช้ทรายสะอาดหนา 5 เซนติเมตร คลุมรดน้ำให้ชุ่ม และใช้น้ำยาบ่มคอนกรีต ตามมาตรฐาน ASTM C309-74 (Type 2) พ่นเคลือบทับผิวหน้าคอนกรีต 2 ชั้น ซึ่งจะแตกต่างกับการบ่มคอนกรีตมาตรฐาน ที่ใช้วิธีการแช่น้ำตลอดอายุของการทดสอบ ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบและหาค่าสัมประสิทธิ์กำลังอัดของคอนกรีต ตามลักษณะการบ่ม ของงานถนนผิวจราจรแบบคอนกรีต กับกำลังอัดของคอนกรีตบ่มมาตรฐาน วิธีดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ออกแบบกำลังอัดคอนกรีตก้อนตัวอย่างรูปทรงลูกบาศก์ ขนาด15x15x15 เซนติเมตร ที่อายุการบ่ม 28 วัน เท่ากับ 240 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยเก็บตัวอย่างตามลักษณะการบ่ม 4 ลักษณะ จำนวนลักษณะละ 18 ตัวอย่าง และแบ่งทำการทดสอบ 3 ชุดๆละ 6 ตัวอย่างเพื่อทำการทดสอบกำลังอัดที่อายุ 7 วัน ตามลักษณะการบ่ม ที่อายุ 14 และ 28 วัน ตามสภาวะแวดล้อม ส่วนการบ่มมาตรฐานทำการทดสอบกำลังอัดที่อายุ 7 ,14 และ 28 วัน โดยทำการบ่มตลอดอายุการทดสอบจากผลการวิจัยสรุปได้ว่าลักษณะการบ่มทั้ง 4 ลักษณะ เมื่อทำการเปรียบเทียบกับการบ่มมาตรฐาน กำลังอัดคอนกรีตที่อายุ 28 วัน จะมีค่าต่ำกว่า โดยมีความแตกต่างร้อยละ 4.46 ถึง ร้อยละ 8.14 ดังนั้น เพื่อให้ได้ค่ากำลังอัดคอนกรีตงานถนน ตามที่ออกแบบไว้ ควรมีค่ากำลังอัดคอนกรีตบ่มมาตรฐาน ที่อายุ 28 วันเท่ากับกำลังอัดคอนกรีตที่ออกแบบคูณด้วยสัมประสิทธิ์สูงสุด 1.0814
คำสำคัญ : สัมประสิทธิ์ กำลังอัด การบ่ม งานถนนคอนกรีต

Downloads

Published

2011-09-14

How to Cite

สะแลแม ป. (2011). สัมประสิทธิ์กำลังอัดของคอนกรีตตามลักษณะการบ่ม งานถนนผิวจราจรแบบคอนกรีต. Princess of Naradhiwas University Journal, 1(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53634

Issue

Section

บทความวิจัย