ความเข้มแข็งในการมองโลกของวัยรุ่นในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย
Abstract
ย่างเป็นวัยรุ่น ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดยะลา ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 400 คน โดยเก็บข้อมูลใน พ.ศ. 2553 เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามความเข้มแข็งในการมองโลก ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .84 จากการหาสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา เปรียบเทียบด้วยการทดสอบสถิติที แบบอิสระ และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นมีคะแนนความเข้มแข็งในการมองโลกค่อนไปทางสูง และพบว่า วัยรุ่นที่มีอายุ < 15 ปี มีความเข้มแข็งในการมองโลก ต่ำกว่าวัยรุ่นที่มีอายุ ≥ 15 ปี วัยรุ่นที่มีรายได้ของครอบครัว ≤ 10,000 บาท/เดือน มีความเข้มแข็งในการมองโลกต่ำกว่าวัยรุ่นที่มีรายได้ของครอบครัว >10,000 บาท/เดือน วัยรุ่นที่มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบจากสื่อและผู้เกี่ยวข้อง มีความเข้มแข็งในการมองโลกสูงกว่าวัยรุ่นที่ประสบเหตุการณ์ความไม่สงบด้วยตนเอง/ญาติพี่น้อง และวัยรุ่นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม มีความเข้มแข็งในการมองโลก สูงกว่าวัยรุ่นที่ได้รับการสนับสนุนทางสังคม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า พยาบาลควรส่งเสริมความเข้มแข็งในการมองโลกของวัยรุ่นที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปี ครอบครัวมีรายได้น้อย และตนเอง/ญาติพี่น้องประสบเหตุการณ์ความไม่สงบโดยตรง และควรศึกษาปัจจัยด้านจิตใจที่เกี่ยวข้องกับความเข้มแข็งในการมองโลก โดยขยายกลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นในเขตอำเภออื่น ๆ ด้วย
คำสำคัญ : วัยรุ่น ความเข้มแข็งในการมองโลก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Downloads
Published
2011-09-16
How to Cite
หวังสวัสดิ์ ธ., ภาคธูป ม., & ไชยมงคล น. (2011). ความเข้มแข็งในการมองโลกของวัยรุ่นในเขต 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของประเทศไทย. Princess of Naradhiwas University Journal, 3(1). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53688
Issue
Section
Research Articles