การศึกษากำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ฝุ่นแกรนิตเป็นส่วนผสมแทนทรายกรณีศึกษา หินฝุ่นแกรนิตจากโรงโม่หินของบริษัทโรงโม่ไทยจำกัด

Authors

  • สุรชัย โกเมนธรรมโสภณ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ฝุ่นแกรนิตเป็นส่วนผสมแทนทราย กรณีศึกษาหินฝุ่นแกรนิตจากโรงโม่หินของบริษัทโรงโม่ไทยจำกัด โดยใช้หินฝุ่นแกรนิตเป็นส่วนผสมแทนทรายที่อัตราส่วนร้อยละ 20, 40, 60, 80 และ 100 (แทนทรายทั้งหมด) โดยน้ำหนัก การผสมคอนกรีตใช้อัตราส่วน 1:2:4 (ปูนซีเมนต์:ทราย:หิน) โดยน้ำหนัก ที่อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ เท่ากับ 0.55 หินฝุ่นแกรนิต มีค่าความถ่วงจำเพาะ 2.62 ร้อยละของการดูดซึม 0.4 ทรายที่นำมาผสมมีคุณลักษณะตามมาตรฐาน ASTM C33 ค่าการยุบตัวของคอนกรีต (Slump test) เฉลี่ย 8.8 ซ.ม. แท่งตัวอย่างคอนกรีตที่ใช้ในการทดสอบการรับกำลังอัด เป็นแท่งคอนกรีตทรงกระบอกตามมาตรฐาน ASTM C192 เส้นผ่าศูนย์กลาง 15 ซ.ม. สูง 30 ซ.ม. บ่มคอนกรีตโดยใช้วิธีแช่น้ำตลอดอายุคอนกรีต ที่อายุการบ่ม 7, 14, 21 และ 28 วัน ทั้งนี้ปรากฏว่าการรับกำลังอัดของคอนกรีต เมื่ออายุการบ่ม 28 วัน ของแต่ละอัตราส่วนผสมที่ใช้ฝุ่นแกรนิตแทนทราย มีค่าแตกต่างกันอยู่ในช่วง 249 - 267 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (หรือเฉลี่ย 258 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร) โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคอนกรีตที่ผสมเฉพาะทรายเท่านั้น (ไม่มีหินฝุ่นแกรนิตผสม) ในอัตราส่วน 1:2:4 ซึ่งให้ค่ากำลังอัด 275 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร จะเห็นว่ามีค่าใกล้เคียงกัน (ค่ากำลังอัดต่างกันประมาณ 6.2%) นอกจากนี้ค่าความแปรปรวนของค่ากำลังอัดในแต่ละอัตราส่วนผสมมีค่าค่อนข้างต่ำ (ประมาณ 3.5%) ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่าคอนกรีตที่ใช้หินฝุ่นแกรนิตแทนทรายบางส่วนนั้นสามารถนำไปใช้งานในงานโครงสร้างบางประเภทได้ เช่น งานโครงสร้างประเภท A (งานโครงสร้างและผิวถนน) ตามที่กำหนดใน ASTM C150 ที่ระบุค่ากำลังอัดประลัยไว้ไม่น้อยกว่า 210 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร ที่อายุการบ่ม 28 วัน
คำสำคัญ : หินฝุ่นแกรนิต  ทราย  คอนกรีต  กำลังอัดประลัย

Downloads

Published

2012-10-02

How to Cite

โกเมนธรรมโสภณ ส. (2012). การศึกษากำลังอัดของคอนกรีตที่ใช้ฝุ่นแกรนิตเป็นส่วนผสมแทนทรายกรณีศึกษา หินฝุ่นแกรนิตจากโรงโม่หินของบริษัทโรงโม่ไทยจำกัด. Princess of Naradhiwas University Journal, 4(3). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53743

Issue

Section

บทความวิจัย