ผลของโปรแกรมการสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์ต่อความเครียดและผลกระทบความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระยะวิกฤต

Authors

  • สุมามิตา สวัสดินฤนาท
  • วิภา แซ่เซี้ย
  • ประณีต ส่งวัฒนา

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์ต่อความเครียดและผลกระทบความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระยะวิกฤตภายใน 72 ชั่วโมงแรก กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอุบัติเหตุและหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิ แห่งหนึ่ง แบ่งกลุ่มผู้ป่วยเป็นกลุ่มควบคุม 15 ราย ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลอง 14 ราย ซึ่งได้รับโปรแกรมสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์ร่วมกับการพยาบาลตามปกติเป็นเวลา 3 วัน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินสถานการณ์ความเครียดและแบบประเมินผลกระทบความเครียด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ .93 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติทีอิสระ
ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดและค่าเฉลี่ยคะแนนผลกระทบความเครียดของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์ต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นพยาบาลควรนำโปรแกรมการสนับสนุนด้านข้อมูลและอารมณ์ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติเพื่อลดความเครียดและผลกระทบจากความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระยะวิกฤต
คำสำคัญ: โปรแกรมการสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์   ผลกระทบความเครียด   ผู้ดูแลผู้ป่วย   ระยะวิกฤต

Downloads

Published

2013-05-30

How to Cite

สวัสดินฤนาท ส., แซ่เซี้ย ว., & ส่งวัฒนา ป. (2013). ผลของโปรแกรมการสนับสนุนข้อมูลและอารมณ์ต่อความเครียดและผลกระทบความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะในระยะวิกฤต. Princess of Naradhiwas University Journal, 5(2). Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/53753

Issue

Section

บทความวิจัย