ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ
Keywords:
คุณภาพชีวิตหลังจำหน่าย, ความวิตกกังวล บาดเจ็บศีรษะ, ภาวะซึมเศร้า, แรงสนับสนุนทางสังคมAbstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงทำนายเพื่อศึกษาอิทธิพลความรุนแรงของการบาดเจ็บศีรษะ ความพิการ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า และแรงสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตหลังจำหน่ายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะที่ได้รับการจำหน่ายจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในภาคใต้ ตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป จำนวน 100 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล ความรุนแรงของ
การบาดเจ็บศีรษะ ความพิการ 2) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยหลังจากการบาดเจ็บที่ศีรษะ 3) ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า 4) แรงสนับสนุนทางสังคม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงและความเที่ยง ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 2-4 เท่ากับ 0.92,
0.85 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะส่วนใหญ่เป็นเพศชายอายุเฉลี่ย 38.3 ปี (S.D.= 17.75 ปี) ภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล พบว่าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 90) มีปัญหาสุขภาพ ที่พบมากที่สุดคือ ปวดศีรษะ มองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว
ประมาณครึ่งหนึ่งพบว่ามีระดับความพิการหลงเหลือก่อนจำหน่ายในระดับปานกลาง มากที่สุด (ร้อยละ 49) คุณภาพชีวิตหลังจำหน่ายโดยรวม อยู่ในระดับสูง (Mean= 68.79, S.D.=14.27) ส่วนปัจจัยที่ศึกษาพบว่าทุกตัวสามารถร่วมทำนายคุณภาพ
ชีวิตของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังจำหน่ายได้ร้อยละ 61 (R2= .61, F= 28.94, p = .001) และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตสูงสุดคือ แรงสนับสนุนทางสังคม (?= .357, p =.000) ผลการวิจัยสะท้อนได้ว่า พยาบาลควรส่งเสริมคุณภาพชีวิตหลัง
จำหน่ายของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะ โดยเพิ่มแรงสนับสนุนทางสังคมให้มากขึ้น
Downloads
How to Cite
อรัญดร ข., ส่งวัฒนา ป., อนุมาศ น., รัตติโชติ ช., สวัสดินฤนาท ส., & ชีวรุ่งโรจน์ อ. (2016). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บศีรษะหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(3), 1–13. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/65391
Issue
Section
Research Articles