การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและมารดาหลังคลอด

Authors

  • ประชุมพร สุวรรณรัตน์
  • สุรีย์พร กฤษเจริญ
  • วรางคณา ชัชเวช

Keywords:

การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอด, การรับรู้, พยาบาลวิชาชีพ, มารดาหลังคลอด

Abstract

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มี วัตถุ ประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในห้องคลอดและเปรียบเทียบความแตกต่างตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและมารดาหลังคลอด  เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง  ใช้วิธีสุ่มอย่างง่ายเพื่อคัดเลือกโรงพยาบาลในการเก็บข้อมูล  ได้กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานห้องคลอดโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไปในเขตภาคใต้  จำนวน 161 คน และมารดาหลังคลอดที่คลอดปกติมีทารกสมบรูณ์แข็งแรง  จำนวน  161  คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม  2  ชุด  คือ  1)  แบบสอบถามการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ และ 2) แบบสอบถามการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของมารดาหลังคลอด ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านทดสอบความเที่ยงของแบบสอบถามทั้ง 2 ชุดโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ  0.93  และ  0.94  ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้สถิติทีอิสระ
    ผลการวิจัยพบว่าการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพอยู่ ในระดับสูง (M = 4.19, S.D. = 0.48) การรับรู้การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดของมารดาหลังคลอดอยู่ในระดับปานกลาง (M  =  3.64,  S.D.  =  0.70)  เมื่อเปรียบเทียบพบว่าการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพมีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวมมากกว่ามารดาหลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p <  .001)  ผลวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปเป็นข้อมูลพื้นฐานในการปรั บแผนการพยาบาลในการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในระยะคลอดให้ สอดคล้องกับความต้องการของมารดาหลังคลอด

Downloads

How to Cite

สุวรรณรัตน์ ป., กฤษเจริญ ส., & ชัชเวช ว. (2016). การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในห้องคลอดตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและมารดาหลังคลอด. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(3), 14–26. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/65394