การประเมินศักยภาพแหล่งพลังงานลมบริเวณภูมิประเทศแบบกึ่งสลับซับซ้อนและสลับซับซ้อนด้วยแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ

Authors

  • อารมณ์ ปุเต๊ะ
  • จอมภพ แววศักดิ์
  • ธเนศ ไชยชนะ
  • ณัฐวุฒิ ดุษฎี
  • วาริช วีระพันธ์

Keywords:

ประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า, ศักยภาพ, พลังงานลม, ความหนาแน่นกำลังลม

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินศักยภาพแหล่งพลังงานลมบริเวณภูมิประเทศแบบกึ่งสลับซับซ้อนของพื้นที่เกาะพงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และบริเวณภูมิประเทศแบบสลับซับซ้อนของ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ด้วยแบบจำลอง

พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ โดยใช้ข้อมูลอัตราเร็วและทิศทางลมตรวจวัดที่ระดับความสูง 120 เมตรของเกาะพงันและ 80 เมตร ของอำเภอแม่แจ่มเหนือพื้นดิน พ.ศ.2555 และข้อมูลเส้นชั้นความสูงแสดงลักษณะภูมิประเทศร่วมกับข้อมูลความสูง

ความขรุขระ และทำการจำลองติดตั้งกังหันลมผลิตไฟฟ้าขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง 2 2.5 และ 3 เมกกะวัตต์ เพื่อวิเคราะห์หน่วยไฟฟ้าที่ผลิตได้รายปีและประสิทธิภาพโรงไฟฟ้าพลังงานลม ผลการศึกษาพบว่าอัตราเร็วลมบริเวณแหล่งลมดีที่ระดับ

ความสูง 120 เมตร ของเกาะพงัน มีค่าเท่ากับ 9.0, 9.9 และ12.1 เมตรต่อวินาที โดยสามารถผลิตไฟฟ้ารายปีเท่ากับ 47.9, 52.7 และ 44.1 ล้านหน่วยต่อปี และมีประสิทธิภาพของ   โรงไฟฟ้าเท่ากับร้อยละ 54.7, 60.1 และ 56.0 และผลการศึกษาอัตราเร็ว

ลมบริเวณแหล่งลมดีที่ระดับความสูง 80 เมตร ของอำเภอ แม่แจ่ม มีค่าเท่ากับ 22.3, 21.2, 19.8 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ โดยสามารถผลิตไฟฟ้ารายปีเท่ากับ 43.6, 46.0 และ 36.6 ล้านหน่วยต่อปี ตามลำดับ โดยมีประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าเท่ากับร้อยละ

49.8, 52.5 และ 46.4 ตามลำดับ

Downloads

How to Cite

ปุเต๊ะ อ., แววศักดิ์ จ., ไชยชนะ ธ., ดุษฎี ณ., & วีระพันธ์ ว. (2016). การประเมินศักยภาพแหล่งพลังงานลมบริเวณภูมิประเทศแบบกึ่งสลับซับซ้อนและสลับซับซ้อนด้วยแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ. Princess of Naradhiwas University Journal, 8(3), 99–108. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/65408