ผลของสารจากธรรมชาติต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paphiopedilum callosum var. sublaeve)
Keywords:
Paphiopedilum callosum var. sublaeve, กรดไฮยาลูโรนิค, ไคโตซานAbstract
รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paphiopedilum callosum var. sublaeve) เป็นกล้วยไม้รองเท้านารีประจำถิ่นที่อยู่ทางภาคใต้ของไทย ซึ่งเป็นพืชใกล้สูญพันธุ์ จึงถูกจัดให้อยู่ในบัญชีแนบท้ายหมายเลข 1 ตามอนุสัญญาไซเตส การทดลองนี้ศึกษาอิทธิพลของสารจากธรรมชาติ คือ กรดไฮยาลูโรนิค (HA) และไคโตซาน ที่มีต่อการงอกของเมล็ด การเจริญของโพรโทคอร์มและการเพิ่มจำนวนยอดของรองเท้านารีม่วงสงขลา โดยเพาะเลี้ยงเมล็ดในอาหารเหลวสูตร MVW ที่มี HA ความเข้มข้น 0, 0.01, 0.1 และ 1.0 มก/ลิตร หรือไคโตซานความเข้มข้น 0, 1, 5 และ 10 มก/ลิตร พบว่า เมล็ดเริ่มงอกภายใน 45 วัน มีค่าอัตราการงอกสูงสุด 8.34?1.01%, ค่าดัชนีการงอกสูงสุด 0.16?0.02, และอัตราการเกิดโพรโทคอร์มสูงสุด 4.28?0.96% เมื่อเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวสูตร MVW ที่มี HA ความเข้มข้น 0.1 มก/ลิตร อย่างไรก็ตาม อาหารวุ้นสูตร MVW ที่มีไคโตซานความเข้มข้น 1.0 มก/ลิตร เป็นอาหารที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญของโพรโทคอร์มมากที่สุด เนื่องจากให้ค่าอัตราการงอกในระยะ C สูงสุด 1.93?0.35% และโพรโทคอร์มที่ได้มีสีเขียวและแข็งแรง ส่วนการเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้นสูตร MMS ที่มี HA ความเข้มข้น 1.0 มก/ลิตร พบว่ามีจำนวนการเกิดยอดสูงสุด 3.22?0.36 ยอด/โพรโทคอร์ม และอัตราการเกิดยอดสูงสุด 100% จากนั้นย้ายต้นที่ได้ไปเพาะเลี้ยงในอาหารวุ้นสูตร MMS และย้ายลงปลูกในกระถางที่มีสแฟคนั่มมอสไปอนุบาลในเรือนเพาะชำเป็นระยะเวลา 30 วัน พบว่าต้นรองเท้านารีม่วงสงขลามีการเจริญเติบโตและมีอัตราการรอดชีวิตร้อยละ 90
Downloads
How to Cite
วัฒนาพันธ์ น., นวลศรี จ., & มีสวัสดิ์ อ. (2016). ผลของสารจากธรรมชาติต่อการงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของกล้วยไม้รองเท้านารีม่วงสงขลา (Paphiopedilum callosum var. sublaeve). Princess of Naradhiwas University Journal, 8(3), 109–120. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/65409
Issue
Section
Research Articles