การใช้ฝุ่นจากโรงโม่หินแทนที่ซีเมนต์ในการทำอิฐบล็อกประสาน
Keywords:
อิฐบล็อกประสาน, ฝุ่นโรงโม่หินAbstract
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการทำอิฐบล็อกประสานจากฝุ่นโรงโม่หินมาแทนที่การใช้ซีเมนต์ โดยขั้นตอนการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ศึกษาการหาอัตราส่วนของน้ำที่เหมาะสมระหว่าง ปูนซีเมนต์ : ฝุ่นโรงโม่หิน: ทราย: หินฝุ่น: น้ำ และ
ศึกษาคุณสมบัติของอิฐบล็อกประสาน ก่อนเปรียบเทียบคุณสมบัติของอิฐบล็อกประสานกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช
602/2547 โดยคุณสมบัติของอิฐบล็อกประสานที่ทำการศึกษาประกอบด้วยค่ารับกำลังอัดและค่าการดูดซึมน้ำ ที่ระยะเวลาการบ่ม
7 และ 28 วัน
จากผลการศึกษา พบว่า ค่าการรับกำลังอัดของอิฐบล็อกประสาน ผ่านมาตรฐาน มผช 602/2547 ชนิดไม่รับน้ำหนัก
ในทุกอัตราส่วนตั้งแต่ระยะเวลาบ่ม 7 วันแรก ที่ค่าความต้านแรงอัด ไม่ต่ำกว่า 2.5 เมกะพาสคัล ส่วนชนิดรับน้ำหนักนั้นมีบาง
อัตราส่วนที่ไม่ผ่านโดยส่วนใหญ่ใช้เวลาบ่มถึง 28 วัน จึงผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ไม่น้อยกว่า 7.0 เมกะพาสคัล ค่าการดูดกลืนน้ำ
เฉลี่ยมีค่าไม่เกินร้อยละ 8.0 ซึ่งเกณฑ์มาตรฐาน มผช 602/2547 กำหนดอยู่ระหว่างร้อยละ 11.20-17.14 ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าอิฐ
บล็อกประสานที่ทำจากจากฝุ่นโรงโม่หินสามารถใช้ทำเป็นอิฐบล็อกประสานชนิดไม่รับน้ำหนักและรับน้ำหนักได้
Downloads
Published
2017-01-28
How to Cite
ตันไพบูลย์กุล น. (2017). การใช้ฝุ่นจากโรงโม่หินแทนที่ซีเมนต์ในการทำอิฐบล็อกประสาน. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 126–135. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/65468
Issue
Section
Research Articles