การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนนักจิตวิทยาเข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิ

Authors

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน
  • ดาราวรรณ รองเมือง
  • รุ่งนภา จันทรา
  • อำนวย ธัญญรัตน์ศรีสกุล
  • สุทธานันท์ กัลกะ

Keywords:

นักจิตวิทยา, สุขภาพจิตชุมชน, บริการปฐมภูมิ

Abstract

การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการดำเนินโครงการการสนับสนุนนักจิตวิทยาเข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ นักจิตวิทยาที่ได้รับการจ้างงานด้วยงบโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตชุมชนในบริการปฐมภูมิ จำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายและข้อมูลเชิงคุณภาพ รวบรวมโดยการสนทนากลุ่มนักจิตวิทยา ภาคละ 8-12 คน และหัวหน้างานทั่วประเทศจำนวน 7 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตชุมชนในบริการปฐมภูมิ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานจิตเวชชุมชน และ 3)แบบสนทนากลุ่ม ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่านได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม 0.66 และ 1.00 ตามลำดับและค่าความเชื่อมั่น 0.79 และ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
    ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินงานพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตชุมชนในบริการปฐมภูมิทั้ง 3 ด้านได้แก่ ด้านประสิทธิผล ด้านความสําเร็จและด้านความยั่งยืน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (x=4.18, S.D.=.33; x=4.16, S.D.=.37;x =3.87, S.D.=.58 ตามลำดับ) และ 2) ความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานจิตเวชชุมชนของนักจิตวิทยามีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับสูง (x=7.54, S.D.=1.60) และผลการสนทนากลุ่มนักจิตวิทยาและหัวหน้างาน พบว่า โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตชุมชนในบริการปฐมภูมิเป็นโครงการที่ดี สนับสนุนให้มีนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติงานในชุมชน ทำให้มีโอกาสเรียนรู้งาน และสร้างสรรค์งานใหม่ เกิดการบูรณาการงานสุขภาพจิตกับงานอื่น ๆ ในระบบบริการปฐมภูมิ มีการวางแผนการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชนต่อเนื่องในปีถัดไปและนักจิตวิทยาส่วนใหญ่ได้รับการจ้างงานต่อภายหลังโครงการสิ้นสุดลง ทั้งนักจิตวิทยาและหัวหน้างานมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานบริการสุขภาพจิตในระบบบริการปฐมภูมิ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนผลักดันระดับนโยบายจึงควรดำเนินการส่งเสริมให้มีการสร้างเครือข่ายนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติงานในระบบบริการปฐมภูมิ ตลอดจนส่งเสริมให้นักจิตวิทยาเข้าพัฒนาศักยภาพด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานจิตวิทยาในระดับปฐมภูมิเพื่อให้การบริการแก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

Downloads

How to Cite

ศรเกษตริน อ., รองเมือง ด., จันทรา ร., ธัญญรัตน์ศรีสกุล อ., & กัลกะ ส. (2017). การศึกษาผลการดำเนินงานโครงการสนับสนุนนักจิตวิทยาเข้าสู่ระบบบริการปฐมภูมิ. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 23–34. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/76030