การดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักมุสลิม
Keywords:
ผู้ดูแลหลักมุสลิม, ผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การดูแลแบบประคับประคองAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองของผู้ดูแลหลักมุสลิม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ดูแลหลักมุสลิมผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง รับรู้ว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะสุดท้ายและให้การดูแลผู้ป่วยอย่างน้อย 1 เดือน จำนวน 9 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2558 โดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคลใช้เวลาในการสัมภาษณ์ครั้งละประมาณ 30-45 นาที และสัมภาษณ์ประมาณ 2-3 ครั้งต่อราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาผลการศึกษาพบว่า การดูแลผู้ป่วยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การดูแลระยะท้ายและการดูแลระยะใกล้ตาย การดูแลระยะท้ายสะท้อนการดูแล 7 ลักษณะดังนี้ 1) ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามแผนการรักษาและมาตรวจตามแพทย์นัด 2) แสวงหาการรักษาเพื่อการฟื้นหายของไต 3) ดูแลความสะอาดของร่างกายและความสุขสบาย 4) ดูแลการรับประทานอาหารที่เหมาะสม 5) ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ป่วย 6) บรรเทาอาการทุกข์ทรมาน และ 7) ส่งเสริมให้ผู้ป่วยอยู่กับพระเจ้าตลอดเวลา ส่วนการดูแลระยะใกล้ตาย สะท้อนการดูแล 5 ลักษณะดังนี้ 1) ดูแลความสะอาดของร่างกายและความสุขสบาย 2) จัดอาหารตามความต้องการของผู้ป่วยและไม่จำกัด 3) บรรเทาอาการทุกข์ทรมานเพื่อความสุขสบาย 4) ทำตามความปรารถนาของผู้ป่วยที่จะเสียชีวิตที่บ้าน และ 5) ส่งเสริมการอยู่กับพระเจ้าตลอดเวลา ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับพยาบาลหรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องและผู้ดูแลหลักมุสลิมในการดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคองที่ตอบสนองความต้องการทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ ได้อย่างแท้จริง
Downloads
How to Cite
เหมมาน ม., นิลมานัต ก., & มัชฌิม เ. (2017). การดูแลผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง: ประสบการณ์ของผู้ดูแลหลักมุสลิม. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 50–59. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/76033
Issue
Section
Research Articles