กรณีศึกษาแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ร่วมกับระบบเซลล์เชื้อเพลิงแบบป้อนกลับขนาดเล็ก

Authors

  • วสันต์ พลาศัย
  • พลากร พรหมเมศร์

Keywords:

เซลล์เชื้อเพลิงแบบป้อนกลับ, ระบบแยกน้ำาด้วยไฟฟ้า

Abstract

บทความวิจัยนี้ นำเสนอการศึกษาแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ร่วมกับระบบเซลล์เชื้อเพลิงแบบป้อนกลับขนาดเล็ก โดยทำการเปรียบเทียบแหล่งกำเนิดแสงอาทิตย์จากธรรมชาติ ในช่วงเวลาระหว่าง 13.30 - 17.00 น. กับแหล่งกำเนิดแสงเทียมที่ได้จากหลอดไฟชนิดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (Compact Fluorescent Lamp; CFLs) ขนาด 13 วัตต์ และหลอดสะท้อนแสงกระจกหนาชนิดแอลอีดี (Light Emitting Diode Parabolic Aluminized Reflector Lamp) ขนาด 12 วัตต์ ซึ่งทำการทดลองในห้องปิดทึบจำกัดแสง โดยให้พลังงานแสงสว่างไปยังเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดผลึกโพลีซิลิกอน (Polycrystalline Silicon Solar Cell) ขนาด 11 วัตต์ 2.5 โวลต์ จำนวน 1 แผง ที่ทำหน้าที่จ่ายแรงดันให้กับระบบแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Electrolyzer) ซึ่งน้ำจะถูกแยกออกเป็นไฮโดรเจน และออกซิเจน แล้วไปเก็บยังกระบอกเก็บเพื่อป้อนกลับเข้าเซลล์เชื้อเพลิงที่ทำหน้าที่ผลิตพลังงานไฟฟ้า จากการศึกษาพบว่า แหล่งกำเนิดแสงอาทิตย์จากธรรมชาติให้ประสิทธิภาพในการแยกน้ำด้วยไฟฟ้าได้ดีกว่าแหล่งกำเนิดแสงเทียมจากหลอดไฟชนิดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ ขนาด 13 วัตต์ คิดเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ แต่จะมีประสิทธิภาพการทำงานที่ใกล้เคียงกันกับหลอดสะท้อนแสงกระจกหนา ขนาด 12 วัตต์ คิดเป็น 70 เปอร์เซ็นต์

Downloads

How to Cite

พลาศัย ว., & พรหมเมศร์ พ. (2017). กรณีศึกษาแหล่งกำเนิดแสงที่ใช้ร่วมกับระบบเซลล์เชื้อเพลิงแบบป้อนกลับขนาดเล็ก. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 86–99. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/76040