การเปรียบเทียบปริมาณแอนโธไซยานิน ในแคลลัส กลีบดอก และใบอ่อน ของต้นกุหลาบหนู

Authors

  • ยุพาภรณ์ จิโรภาสภาณุวงศ์
  • วุฒิชัย ศรีช่วย

Keywords:

แคลลัส, ต้นกุหลาบหนู, การเพาะเลี้ยงเซลล์พืช, แอนโธไซยานิน

Abstract

การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปรียบเทียบปริมาณสารสกัดแอนโธไซยานิน จากแคลลัส กลีบดอก และใบอ่อน ของต้นกุหลาบหนู โดยแคลลัสได้มาจากการเพาะเลี้ยงใบอ่อนบนอาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) ร่วมกับ

benzlyadenine (BA) 2 มิลลิกรัมต่อลิตร 2,4-dichlorophenoxy acetic acid (2, 4-D) 2 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำตาลซูโครส 3% และผงวุ้น 0.75% จากการศึกษาระยะเวลาการเพาะเลี้ยงแคลลัสต่อปริมาณแอนโธไซยานิน บนอาหารสูตรเพิ่มปริมาณแคลลัส

(MS ร่วมกับ dicamba 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร น้ำตาลซูโครส 3% และผงวุ้น 0.75%) พบว่า ที่ระยะเวลาการเพาะเลี้ยงแคลลัส 4 สัปดาห์ แคลลัสสามารถเพิ่มปริมาณได้สูงสุด 5.52+0.29 กรัมน้ำหนักสด และมีปริมาณแอนโธไซยานินสูงสุด 0.098+0.030

มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด เมื่อศึกษาผลของชิ้นส่วนพืชต่อปริมาณแอนโธไซยานิน พบว่า ในกลีบดอกกุหลาบหนู มีปริมาณสารแอนโธไซยานินสกัดสูงสุด 0.117+0.001 มิลลิกรัมกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด รองลงมาคือ ใบอ่อน แคลลัสสีแดง และแค

ลลัส สีเหลืองขุ่น มีปริมาณแอนโธไซยานิน 0.104+0.001, 0.063+0.017 และ 0.004+0.001 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักสด ตามลำดับ ซึ่งข้อมูลที่ได้ สามารถนำมาใช้เป็น แนวทางสำหรับการผลิตสารชีวเคมีทุติยภูมิจากการเพาะเลี้ยงเซลล์พืชต่อไป

Downloads

How to Cite

จิโรภาสภาณุวงศ์ ย., & ศรีช่วย ว. (2017). การเปรียบเทียบปริมาณแอนโธไซยานิน ในแคลลัส กลีบดอก และใบอ่อน ของต้นกุหลาบหนู. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 143–150. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/76045

Issue

Section

บทความวิจัย