การตรวจวัดก๊าซเรดอนในบริเวณอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยเทคนิคการกัดรอยนิวเคลียร์

Authors

  • ณัฐชยา จันทร์วิไชย
  • อดินันท์ เจ๊ะซู
  • นูปาตีฮะ ดีติ

Keywords:

เรดอน, การกัดรอยนิวเคลียร์, ความเข้มข้นของเรดอน

Abstract

การตรวจวัดระดับความเข้มข้นของก๊าซเรดอนในบริเวณอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ จังหวัดนราธิวาส ด้วยเทคนิคการกัดรอยนิวเคลียร์ จากห้องเรียน จำนวน 47 จุด โดยอาศัยชุดตรวจวัด

รอยรังสีแอลฟาชนิดแผ่น CR-39 ทำการตรวจวัดเป็นเวลา 2 สัปดาห์ จากนั้นนำมากัดขยายรอยแฝงด้วยสารละลายโซเดียม ไฮดรอกไซด์ (NaOH) ความเข้มข้น 6.25 โมล/ลิตร ที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 100 นาที ตรวจนับค่าความหนา

แน่นรอยรังสีแอลฟาที่เกิดขึ้นบนแผ่น CR-39 ต่อพื้นที่ 40 ตารางมิลลิเมตรด้วยกล้องจุลทรรศน์ และปรับเทียบรอยแฝงเป็นค่าความเข้มข้นของเรดอน พบว่าค่าความเข้มข้นของเรดอนอยู่ในช่วงพิสัย 35 - 427 Bq/m3 ค่าที่สูงที่สุดพบในห้องปฏิบัติการ

คอมพิวเตอร์ รองลงมาคือห้องเก็บสารเคมี โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 427.4?190.7 Bq/m3 และ 293.9?131.1  Bq/m3  ตามลำดับ ซึ่งมีค่ามากกว่าค่าระดับเรดอนภายในอาคารโดยเฉลี่ยที่องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา หรือ USEPA ได้กำหนด

ค่ามาตรฐานไว้ที่ 148 Bq/m3

Downloads

How to Cite

จันทร์วิไชย ณ., เจ๊ะซู อ., & ดีติ น. (2017). การตรวจวัดก๊าซเรดอนในบริเวณอาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ด้วยเทคนิคการกัดรอยนิวเคลียร์. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(1), 161–167. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/76046