ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นมุสลิม
Keywords:
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา, มารดาวัยรุ่นมุสลิมAbstract
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นมุสลิม กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาวัยรุ่นมุสลิมอายุไม่เกิน 19 ปี ที่มีบุตรคนแรก และนำบุตรที่มีอายุ 4-6 เดือนมารับ
บริการในคลินิกเด็กดี โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ จำนวน 80 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูล
ส่วนบุคคล แบบวัดความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา แบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอด แบบสอบถามความเป็นเด็กเลี้ยงยาก-ง่ายของทารก และแบบสอบถามการสนับสนุนของครอบครัว ซึ่งตรวจสอบความตรงของเครื่องมือ โดย
ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และผ่านการตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .87, .90, .86 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา และสถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ประสบการณ์การคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .615,p < .001) ภาวะพื้นฐานทางอารมณ์ของทารก มีความสัมพันธ์ทางบวก
กับความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .165, p < .001 ) การสนับสนุนของครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .464,
p < .001) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลควรส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาวัยรุ่นมุสลิม โดยปรับเปลี่ยนปัจจัยด้านการรับรู้ประสบการณ์การคลอด เช่น การจัดสภาพแวดล้อมในห้องคลอด
ให้เป็นมิตรกับผู้คลอด สร้างทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการคลอดและการเป็นมารดา ด้านภาวะพื้นฐานทางอารมณ์ของทารก เช่น การให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงดูบุตร การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการตอบสนองที่ตรงกับความต้องการของบุตร และด้านการ
สนับสนุนของครอบครัว เช่น การให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการคลอดและการดูแลบุตร เป็นต้น