ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอด

Authors

  • นราภรณ์ ฤทธิเรือง
  • พิริยา ศุภศรี
  • สุพิศ ศิริอรุณรัตน์

Keywords:

การเสริมสร้างพลังอำนาจ, การเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด, การรับรู้ประสบการณ์การคลอด

Abstract

ผู้คลอดที่มีพลังอำนาจจะสามารถเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดได้ และมีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการเผชิญความ
เจ็บปวดในระยะคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดที่มาฝากครรภ์และคลอดที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพัทลุงจำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสังเกตพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอด ซึ่งแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอดมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ .70
วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณา (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย) และสถิติทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test)
ผลการวิจัย พบว่า ผู้คลอดกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจมีค่าคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอดสูงกว่า และมีคะแนนการรับรู้ประสบการณ์การคลอดสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
(t = 7.83, p < .001 และ t = 5.11, p < .001 ตามลำดับ) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลประจำแผนกฝากครรภ์ควรนำโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจไปประยุกต์ใช้ในการให้บริการหญิงตั้งครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการเผชิญ
การเจ็บครรภ์คลอดที่เหมาะสมและมีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ดีวัยรุ่น

Downloads

Published

2017-09-15

How to Cite

ฤทธิเรือง น., ศุภศรี พ., & ศิริอรุณรัตน์ ส. (2017). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการเผชิญความเจ็บปวดในระยะคลอด และการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอด. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 48–56. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/99135