ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา
Keywords:
การรับรู้ภาวะสุขภาพ, ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน, ภาวะซึมเศร้า, การดูแลตนเองผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบAbstract
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบโรงพยาบาลกระแสสินธุ์ จังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบ โรงพยาบาลกระแสสิ
นธุ์ จังหวัดสงขลา จำนวน 120 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีแบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอ
นบาค ได้ค่าความเที่ยง เท่ากับ .92 เก็บข้อมูลโดยวิธีการให้ผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบตอบแบบสอบถาม นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้การแจกแจงความถี่ คำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ
สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีการรับรู้ภาวะสุขภาพ (x= 36.73, S.D. = 10.95) มีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน (x= 33.56, S.D. = 10.17) มีการสนับสนุนทางครอบครัว (x= 41.45, S.D. = 9.90) มีการติดตามการรักษา (x=
41.43, S.D. = 10.48) และมีการดูแลตนเอง x= 120.88, S.D. = 37.68) อยู่ในระดับมาก มีภาวะซึมเศร้า (x= 30.61, S.D. = 6.48) อยู่ในระดับน้อย การรับรู้ภาวะสุขภาพและความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ภาวะซึมเศร้าและการสนับสนุน
ทางครอบครัว มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับการดูแลตนเอง (r = .32 และ r = .38, p < .01) มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการดูแลตนเอง (r = .51 และ r = .54, p < .01) การติดตามการรักษามีความสัมพันธ์ทางบวก
ระดับสูง (r = 0.66, p < .01) กับการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยโรคเส้นเลือดในสมองตีบสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้อง
ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ลดภาวะแทรกซ้อนและการกลับมารักษาซ้ำในโรงพยาบาลได้ ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อผู้ป่วย ครอบครัว สังคมและระบบสุขภาพต่อไป