คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา

Authors

  • เจษฎา นกน้อย
  • วรรณภรณ์ บริพันธ์

Keywords:

คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุ, จังหวัดสงขลา

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิต และปัจจัยที่มีผลต่อระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา จำนวน 322 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ
แบบสอบถามคุณภาพชีวิต ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .814 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลามีคุณภาพชีวิตในองค์ประกอบด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ และด้านจิตใจอยู่ในระดับสูง (x= 4.44, S.D. = 0.81; x= 4.65, S.D. = 0.67; x= 4.38, S.D. = 0.78; x= 4.95, S.D. = 0.36
ตามลำดับ) ขณะที่มีคุณภาพชีวิตในองค์ประกอบด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง (x= 3.36, S.D. = 0.52) โดยในภาพรวมพบว่า ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับสูง (x= 4.34, S.D. = 0.42) ลักษณะการครอบครองที่อยู่อาศัย การเข้าร่วมกิจกรรม
ทางศาสนา ความสุขในการดำเนินชีวิต การเข้าร่วมกิจกรรมภายในชุมชน การอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สะดวก และปลอดภัยแก่การใช้ชีวิต อาชีพหลักก่อนอายุ 60 ปี และความสัมพันธ์ภายในครอบครัว สามารถอธิบายคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
ในจังหวัดสงขลาได้ร้อยละ 39.2

Downloads

Published

2017-09-15

How to Cite

นกน้อย เ., & บริพันธ์ ว. (2017). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. Princess of Naradhiwas University Journal, 9(3), 94–105. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/99140