การศึกษาคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของทรายในจังหวัดนราธิวาส
Keywords:
คุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของทราย, มวลรวมละเอียดAbstract
วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและเปรียบเทียบคุณสมบัติทางด้านวิศวกรรมของทรายจากแหล่งทรายต่างๆ ในเขตจังหวัดนราธิวาส จำนวน 9 แหล่ง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการขุดหรือดูดทรายขายในเชิงพาณิชย์ พบว่า ค่าหน่วยน้ำหนัก มีค่าอยู่
ระหว่าง 1,514.89 กก./ลบ.ม. ถึง 1,688.20 กก./ลบ.ม. ค่าอัตราการพองตัวของทรายมีค่าอยู่ระหว่าง 4.19 เปอร์เซ็นต์ถึง 24.38 เปอร์เซ็นต์ ค่าปริมาณดินและฝุ่นผงในทรายมีค่าอยู่ระหว่าง 0.68 เปอร์เซ็นต์ ถึง 3.85 เปอร์เซ็นต์ เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM
C-33 โดยระบุว่าต้องมีค่าไม่เกิน 5 เปอร์เซ็นต์ ค่าความถ่วงจำเพาะของทรายมีค่าอยู่ระหว่าง 2.17 ถึง 2.56 เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM C - 128 โดยระบุค่าความถ่วงจำเพาะของมวลรวมละเอียด 2.40–3.00 จากผลการทดสอบมีแหล่งทรายจำนวน 5
แหล่งเป็นไปตามมาตรฐาน สามารถนำไปใช้ในการผสมคอนกรีตได้ และมีแหล่งทรายจำนวน 4 แหล่งไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หากต้องการนำไปผสมคอนกรีตต้องปรับปรุงคุณภาพก่อนการนำไปใช้ ค่าสัดส่วนขนาดคละของทราย จากผลการ
ทดสอบพบว่ามีค่าโมดูลัสความละเอียดอยู่ระหว่าง 2.55 ถึง 3.52 ซึ่งผลการทดสอบแหล่งทรายทั้ง 9 แหล่ง มีแหล่งทรายที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน จำนวน 6 แหล่ง และไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 แหล่ง ซึ่งเกณฑ์การตัดสินและค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมให้
ตามมาตรฐาน ASTM C-33 ค่าโมดูลัสความละเอียดอยู่ระหว่าง 2.15 ถึง 3.45 สำหรับการทดสอบหาค่ากำลังรับแรงอัดของ ซีเมนต์มอร์ต้าจากแหล่งทรายทั้ง 9 แหล่ง พบว่าค่าการรับกำลังอัดของก้อนลูกบาศก์ซีเมนต์มอร์ต้าที่ 3 วัน 7 วัน และ 28 วัน มี
ค่ากำลังอัดประลัยระหว่าง 139.31 กก./ลบ.ซม. ถึง 159.59 กก./ลบ.ซม., 184.62 กก./ลบ.ซม. ถึง 204.59 กก./ลบ.ซม. และ 268.95 กก./ลบ.ซม. ถึง 304.47 กก./ลบ.ซม. ตามลำดับ ซีเมนต์มอร์ต้าที่ผสมด้วยทรายจากแหล่งทรายทั้ง 9 แหล่ง มีค่ากำลังอัด
ประลัย สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ASTM C 109-92 ที่กำหนดไว้