สภาพ ปัญหา และความต้องการทำวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • วัชรีย์ แสงมณี
  • Namtip Kaewvichit
  • Sumairoh Tohteng

คำสำคัญ:

สภาพ, ปัญหา, ความต้องการ, วิจัยของพยาบาลวิชาชีพ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา สภาพ ปัญหา และความต้องการทำวิจัย เปรียบเทียบความแตกต่างของความคิดเห็นและแนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพทุกระดับที่ปฏิบัติงานการพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 6 เดือน ในคณะแพทยศาสตร์ และผ่านการประเมินผลการปฏิบัติงานแล้ว จำนวน 340 ราย ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลเดือน มิถุนายน 2561 ถึง พฤษภาคม 2562 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ที่สร้างโดย วรพลและคณะ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือโดยการหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยวิธีสัมประสิทธิ์คอนบาค อัลฟา ค่าความเชื่อมั่นด้านสภาพความเป็นจริงปัจจุบัน เท่ากับ 0.91 ด้านสภาพปัญหาการทำวิจัย เท่ากับ 0.93 และสภาพความต้องการในการทำวิจัย เท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ วิเคราะห์สถิติเชิงบรรยาย สถิติเชิงอนุมานด้วยการทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

                ผลการวิจัย พบว่าระดับความคิดเห็นต่อสภาพ ปัญหา และความต้องการของพยาบาล มีสภาพความรู้ความสามารถในการทำวิจัย (Mean = 2.28, S.D. = 0.96) และมีทักษะในการทำวิจัยอยู่ในระดับน้อย (Mean = 1.98, S.D. = 1.24) มีปัญหาด้านของเวลาสำหรับทำวิจัยอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 3.50, S.D. = 1.20) มีความต้องการมีแรงจูงใจในการทำวิจัยมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 3.23, S.D. = 1.15) ผลการประเมินระดับความคิดเห็นต่อสภาพ ปัญหา และความต้องการของปัจจัยสนับสนุน พบว่า มีสภาพด้านแหล่งการศึกษาค้นคว้าเอกสาร/ตำราในการทำวิจัยอยู่ในระดับมาก (Mean = 3.52, S.D. = 0.96) มีปัญหางบประมาณแหล่งทุนค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 3.06, S.D. = 1.00) และมีความต้องการแหล่งการศึกษาค้นคว้าเอกสาร/ตำราในการทำวิจัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (Mean = 3.23, S.D. = 1.15) และนอกจากนี้ พบว่า การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแปรปรวน และความแตกต่างของ สภาพ ปัญหา และความต้องการทำวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลา- นครินทร์ แยกตามประเภทบุคลากรมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันทางสถิติ แยกตามตำแหน่งทางวิชาการ มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01



References

Chaimay, P. (2014). Research Methodology of Public Health Program. Songkla: Namsil Advertizer. (In Thai).

Cornbrash, A. (1993). LJ. Essentials of psychological testing (5th ed). Journal of Psych Educational Assessment. New York: Harper & Row.

Faculty of medicine. (2017). Prince of Songkla University. Personal unit. Vision Mission and Strrategy 2560 - 2564. Songkla:Retrieved June 1, 2020 from: http://medinfo.psu.ac.th/ mission/mission2560/mission 2560_2564.pdf.

Faculty of medicine. (2019). Prince of Songkla University. Academic promotion and development. Retrieved June 1, 2020 from: http://medinfo2.psu.ac.th/research/apdu/?q=node/2.

Likert, RA. (1931) Technique for the Measurement of Attitudes. ARCH Psychological.

Loipet, T. (2009). Efficiency of Employees of Chonburi Provincial Administration Organization. Faculty of science Thammasat University Bangkok. (In Thai).

Maneewong, A., Aurmaneekul, N., Klampakorn, S., & Kaewpan, W. (2017). Factors affecting job Competency of Professional Nurses in Community Hospital, central region. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 30(3), 1-15.

Medical Record of Songklanagarind Hospital. (2017). Statistic of patient admit in intensive care unit songklanagarind hospital. Songkla:Songklanagarindhospital. (in Thai).

Medical Record of Songklanagarind Hospital. (2018). Statistic of patient admit in intensive care unit songklanagarind hospital. Songkla:Songklanagarind hospital. (in Thai) Retrieved June 1, 2020 from http://medinfo.psu.ac.th/nurse/research%2061.html

Nursing council. (2016). Vision Mission and Strrategy :2557 – 2561.Bangkok: Retrieved June 1, 2020 from http:// www. tnmc. or.th/news/107.

Nursing council. (2011). Competency of nurse sahunkan hospital. Kalasil province.

Pingsanoi, W. (2013). Factors influencing on conducting research among academic staff of health science Thammasat University Bangkok: Thammasat University. (In Thai).

Sae-Sia, W., Songwattana, P., Kahawong, W., & Suwan, S. (2008). Research conduct status and perceived barriers of research utilization in Master’s prepared nurses who graduated from the Faculty of Nursing, Prince of Songkla University, Thailand Songkla Med J, 26(5), 451-458.

Sintu, S., & Pukboonmee, R. (2000). Research Utilization and Barriers to Research Utilization in Nursing Practice. Thai Journal of Nursing Council, 5, 71-84.

Songwathana, P. (2009). Status and trends in nursing research: view from experiences. Princess of Naradhiwas University journal, 1(1).

The secretariat of the cabinet. (2019). National Economic and social development plan 12th 2560 - 2564 bangkok. Retrieved June 1, 2020 from http://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid =64224.

Wilaem, W., Phumsamrith, S., & Wannachoti, Y. (2014). State Problems and Needs for Institutional Action. Research of personnel Supporting Teaching and Learning at Thammasat University.

Yamane, T. (1973). Statistic. New York: Harper and Row publication.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2021-01-12

How to Cite

แสงมณี ว., Kaewvichit, N., & Tohteng, S. . (2021). สภาพ ปัญหา และความต้องการทำวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(1), 160–185. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/241695