ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ปลูกผักชีฝรั่งในจังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ โฉมงาม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • Patana Sukprasert
  • Siros Tongchure
  • Nuttapon Datepumee

คำสำคัญ:

ผักชีฝรั่ง, การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP), จังหวัดนครสวรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลส่วนบุคคล และการปฏิบัติในการปลูกผักชีฝรั่งของเกษตรกร 2) การปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรผู้ปลูกผักชีฝรั่ง ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรผู้ปลูกผักชีฝรั่งในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 168 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และใช้สถิติเชิงอนุมานหาค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่าเกษตรกรผู้ปลูกผักชีฝรั่งจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 66.1 อายุเฉลี่ย 54.89 ปี สำเร็จการศึกษาระดับ ประถมศึกษา ร้อยละ 82.7 มีประสบการณ์การปลูกผักชีฝรั่ง เฉลี่ย 12.72 ปี มีพื้นที่ปลูกผักชีฝรั่ง เฉลี่ย 6.63 ไร่ ปลูกพันธุ์จันทบุรี ร้อยละ 99.4 โดยปลูกปีละ 2 – 3 รุ่น ร้อยละ 56.0 ช่วงเดือนปลูก ได้แก่ มกราคม – เมษายน พฤษภาคม – สิงหาคม และกันยายน – ธันวาคม ปริมาณผลผลิตรุ่นที่ 1 เฉลี่ย 1,828.27 ก.ก./ไร่ รุ่นที่ 2 เฉลี่ย 1,709.21 ก.ก./ไร่ และรุ่นที่ 3 เฉลี่ย 1,000 ก.ก./ไร่ มีต้นทุนการผลิต เฉลี่ย 17,265.48 บาท/ไร่ รายได้จากการปลูกผักชีฝรั่ง เฉลี่ย 23,747.02 บาท/ไร่ ใช้แรงงานในครัวเรือน 1.86 คน มีการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ระดับมาก ในข้อกำหนดด้าน การพักผลิตผลการขนย้ายในแปลงปลูกและเก็บรักษา (X= 3.46) โดยปัจจัยด้านแรงงานในครัวเรือน ปริมาณผลผลิต ต้นทุนการผลิต และรายได้ต่อพื้นที่ปลูก มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรฐานการเกษตรที่ดี (GAP) ในบางข้อกำหนด

References

Camloi, S. (2018). Factors Related to Good Agricultural Practice (GAP) for Cut – Flower Orchids of Farmers, Bang Yang Sub – District, Krathum Baen District, Samut Sakhon Province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 36(2), 62-72.

Department of Agricultural Extension. (2018). Agricultural production information system, Retrieved November 7, 2019, from: http;//production.doae.go.th.

Department of Agricultural Extension. (2019). Farmer registration update. Retrieved December 10, 2019, from: http://www.farmer.doae.go.th.

Department of Agricultural Extension.. (2020). GAP certification process, plants and organic production. Retrieved September 24, 2020, from http://gap.doa.go.th/web_manual/ doc/SOP.pdf

Janthong, N. (2018). Farmers Adoption of Corn Production on Good Agricultural Practices (GAP) in Angthong Province. Journal of Agri. Research & Extention, 35(3), 53-62.

Nakhon Sawan Provincial Agricultural Extension Office. (2017). Annual report 2017. Muang Distric, Nakornsawan Province. (In Thai).

Niyamangkul, S. (2013). Research methods in social sciences and statistics . Book to you co. Bangkok. (In Thai).

Nonthachad (2010). Herbs. Witthaya sathan. Europa press co. Bangkok. (In Thai).

Office of Agricultural Economics. (2019). Agricultural Economic Outlook. Division of Agricultural Policy and Planning. Ladyao Chatuchak Bangkok. (In Thai).

Siriviriyasomboon, N. (2012). Factors affecting farmers adoption of safety vegetable in Bangyai district Nonthaburi province. King Mongkut’s Agricultural Journal, 30(2), 59-67.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2021-05-12

How to Cite

โฉมงาม ว., Sukprasert, P. ., Tongchure, S., & Datepumee, N. (2021). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) ของเกษตรกรผู้ปลูกผักชีฝรั่งในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(2), 354–371. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/245032