การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำการเตรียมและส่งต้นฉบับ  (ดาวน์โหลดไฟล์)

วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นวารสารที่รับตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ เช่น ด้านการแพทย์ (Medicine) ด้านการพยาบาล (Nursing) ด้านทันตกรรม (Dentistry) ด้านสาธารณสุขศาสตร์ (Health profession) และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยบทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องเป็นผลงานวิจัยที่แล้วเสร็จไม่เกิน 5 ปี ไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่นเมื่อได้รับการตอบรับให้ตีพิมพ์ ถ้าเป็นบทความวิจัยที่เป็นหรือเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ / ดุษฎีนิพนธ์ ต้องมีหนังสือรับรอง และลงนามทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและนักศึกษาผู้ทำวิทยานิพนธ์ / ดุษฎีนิพนธ์ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการแก้ไขต้นฉบับเพื่อความเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ที่กองบรรณาธิการกำหนด โดย บทความที่จะตีพิมพ์เผยแพร่ ต้องผ่านการพิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบ จากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่มีความรู้ ความชำนาญ มีประสบการณ์ ในด้านที่เกี่ยวข้องในการประเมินบทความ เพื่อให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ ก่อนการตีพิมพ์เผยแพร่ จำนวนอย่างน้อย 2 ท่าน โดยจะไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนและผู้ประเมินบทความ (Double blinded peer review)

 ประเภทของบทความ

      1. บทความวิจัย

      2. บทความวิชาการ

      3. บทความปริทัศน์ บทความพิเศษ และปกิณกะ

 การเตรียมบทความต้นฉบับ

1. ต้นฉบับพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป MS Word 97/03 for Windows แบบอักษร Angsana New ขนาดตัวอักษร 16 อักษรปกติ พิมพ์หน้าเดียวบนกระดาษ A4 ระยะขอบกระดาษ ด้านบน-ด้านล่าง 54 ซม. ด้านใน 3.17 ซม. ด้านนอก 2.54 ซม. ไม่เกิน 12 หน้า (ไม่รวมรายการอ้างอิง)

2. ชื่อเรื่อง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ไว้หน้าแรกตรงกลาง ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา

3. ชื่อผู้นิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ใต้ชื่อเรื่องโดยชิดขอบกระดาษด้านขวา ขนาดตัวอักษร 14 อักษรปกติ และให้ระบุตัวเลขเป็นตัวยกท้ายชื่อผู้เขียน เพื่อแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทำงานของผู้เขียนบทความทุกคนไว้ที่เชิงอรรถในหน้าแรก

4. ชื่อหน่วยงานของผู้นิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อยู่ส่วนล่างสุด ที่เชิงอรรถในหน้าแรก ขนาดตัวอักษร 12 ปกติ ระบุหน่วยงานรองและหน่วยงานหลัก และระบุตัวเลขเป็นตัวยกหน้าชื่อหน่วยงานผู้นิพนธ์ทุกท่าน และ E-mail Address ของผู้เขียนหลักเพื่อเป็น Corresponding Author

5. บทคัดย่อ (Abstract) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ

6. คำสำคัญ (Key words) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (จำนวน 3 - 5 คำ)

7. การพิมพ์หัวข้อ หัวข้อใหญ่สุด ให้ชิดขอบด้านซ้าย หัวข้อย่อยเว้นห่างจากหัวข้อใหญ่ 4 ตัวอักษร และหัวข้อย่อยขนาดเดียวกัน ต้องพิมพ์ให้ตรงกัน เมื่อขึ้นหัวข้อใหญ่ ควรเว้นระยะพิมพ์หนึ่งบรรทัด

8. การใช้ตัวเลข คำย่อ และวงเล็บควรใช้เลขอารบิคทั้งหมด ใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น (ระบุคำเต็มไว้ในครั้งแรก) การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ดังนี้ (Student centered learning)

9. กรณีมีรูปภาพ บันทึกเป็นไฟล์ที่มีนามสกุล JPEGs หรือ Tiffs เท่านั้น และให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (เริ่มใช้ในวารสารปีที่ 17 เป็นต้นไป)

10 บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

       10.1 บทคัดย่อ (Abstract)

       10.2 บทนำ (Introduction) ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัย กรอบแนวคิด สมมุติฐาน การทบทวนหรืออ้างอิงเอกสาร/ทฤษฎี / งานวิจัย ที่นำไปสู่กรอบแนวคิดหรือวัตถุประสงค์การวิจัย

       10.3 วัตถุประสงค์ (Objectives)

       10.4 วิธีการวิจัย (Research methodology) ระบุแบบแผนการวิจัยการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การพิทักษ์สิทธิ์กลุ่มตัวอย่าง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

       10.5 ผลการวิจัย (Results) เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ กรณีมีตารางหรือแผนภูมิให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด (เริ่มใช้ในวารสารฯ ปีที่ 17 เป็นต้นไป)

       10.6 อภิปรายผล (Discussion) เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

       10.7 สรุป (Conclusions) ระบุข้อสรุปที่สำคัญ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือไม่

       10.8 ข้อเสนอแนะ (Suggestion) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และสำหรับการวิจัยต่อไป

       10.9 รายการอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิง APA 7th Edition และต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ในเนื้อหาเท่านั้น รายการอ้างอิงที่นำมาอ้างอิงต้องมีความทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ และควรตีพิมพ์เผยแพร่ไม่เกิน 5 ปีย้อนหลัง และให้พิมพ์เป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

11. บทความวิชาการ ประกอบด้วย

       11.1 บทคัดย่อ (Abstract)

       11.2 บทนำ (Introduction)

       11.3 เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

       11.4 บทสรุป (Conclusion)

       11.5 ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

       11.6 รายการอ้างอิง (References)

12. การพิมพ์รายการอ้างอิง

ให้ใช้ APA Formatted References, 7th edition (เริ่มใช้ในบทความ วารสารฯ ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 เป็นต้นไป)

การชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์

1. วารสารจะดำเนินการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ เมื่อบทความผ่านการพิจารณารับประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะมีการแจ้งผลการพิจารณาตีพิมพ์เบื้องต้นผ่านทางระบบ Thaijo ตามที่ผู้นิพนธ์ Submission บทความ

2. รายละเอียดค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ

บุคคลภายในมหาวิทยาลัย       บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย

บทความภาษาไทย                             3,000          บาท                       4,500 บาท

บทความภาษาอังกฤษ                         5,000          บาท                       7,000 บาท

*** กรณีวารสารปฎิเสธการตีพิมพ์บทความ ผู้นิพนธ์ต้องชำระค่าดำเนินการในการประเมินบทความภาษาไทย จำนวน 3,000 บาท / บทความ กรณีบทความภาษาอังกฤษ จำนวน 5,000 บาท / บทความ***

ดำเนินการโอนเงินค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์มาที่

ธนาคารกรุงไทย สาขานราธิวาส เลขที่บัญชี 905-084-0485 ชื่อบัญชี "วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์" 

ตัวอย่างการเขียนรายการอ้างอิง

การอ้างอิงในเนื้อหา

ใช้ระบบนาม-ปี (Author’s last name – year of Publication) ถ้าชื่อสกุลผู้เขียนเป็นภาษาไทยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีรูปแบบการเขียน ดังนี้

  1. ผู้แต่ง 1 คน

สกุล (ปี) หรือ (สกุล, ปี) Siriphan (2016) หรือ (Siriphan, 2016)

  1. ผู้แต่ง 2 คน

Siriphan and Kaewchai (2016) หรือ (Siriphan & Kaewchai, 2016)

  1. ผู้แต่ง 3 คนขึ้นไป

ให้ใส่เฉพาะสกุลผู้แต่งคนแรกตามด้วยคำว่า et al.

(Seeley et al., 2016) หรือ Seeley et al. (2016) ในการอ้างอิงครั้งแรก และการอ้างอิงครั้งต่อไป

  1. ผู้แต่งเป็นหน่วยงาน

            4.1 ให้ใส่ชื่อหน่วยงานแทนชื่อผู้แต่ง สำหรับการอ้างอิงครั้งแรกให้ใส่ชื่อเต็มขอหน่วยงาน ตามด้วยอักษรย่อในเครื่องหมายวงเล็บเหลี่ยม [  ] และต่อไปให้ใช้เฉพาะอักษรย่อ หากอักษรย่อบางหน่วยงานซ้ำกันให้ใส่ชื่อเต็มของหน่วยงานในการอ้างอิงทุกครั้ง

การอ้างอิงครั้งแรก (World Health Organization [WHO], 2020)

การอ้างอิงครั้งต่อมา (WHO, 2020)

4.2 ให้ใส่ชื่อเต็มของหน่วยงาน กรณีที่มีทั้งชื่อหน่วยงานใหญ่และหน่วยงานย่อย เฉพาะต่างประเทศ ให้ใส่ชื่อหน่วยงานใหญ่ คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ตามด้วยชื่อหน่วยงานย่อย

World Health Organization

University of Southampton, Faculty of Health Sciences

  1. การอ้างอิงเอกสารมากกว่าหนึ่งงานที่ผู้แต่งต่างกัน

 ให้ใส่ชื่อผู้แต่งโดยเรียงตามลำดับอักษร แยกแต่ละรายการอ้างอิง โดยคั่นด้วยเครื่องหมายอัฒภาค ( ; ) หากมีทั้งงานภาษาไทยและภาษาต่างประเทศให้เรียงรายการอ้างอิงภาษาไทยก่อน

(Knecht, et al., 2000; Moskal, 2000; Schrock, 2000) 

 การอ้างอิงในรายการอ้างอิงท้ายบทความ (References)

1. การลงชื่อผู้แต่ง

   1.1 ผู้แต่ง 1 คน

ให้ใส่ชื่อสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลาง (ถ้ามี)

Ahmad Asmuni                    ลงชื่อผู้แต่งเป็น Asmuni, A.

John W. Creswell                  ลงชื่อผู้แต่งเป็น Creswell, J.W.

Harison Michael Campbell     ลงชื่อเป็น Campbell, H.M.

   1.2 ผู้แต่ง 2 คน

ให้ใส่ชื่อสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลางของผู้แต่งทั้ง 2 คน โดยใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่น และตามด้วย & หน้าชื่อสกุลผู้แต่งคนที่ 2

Sutter, J., & Jue, A.

   1.3 ผู้แต่ง 3 – 20 คน

ให้ใส่ชื่อสกุล คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ตามด้วยอักษรย่อชื่อต้น และอักษรย่อชื่อกลางของผู้แต่งทุกคน โดยใส่เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างผู้แต่งทุกคนและตามด้วย & หน้าชื่อสกุลผู้แต่งคนสุดท้าย

Fonghoi, W., Tayjasanant, C., & Nomnian, S.

   1.4 ผู้แต่ง 21 คนขึ้นไป

ให้ใส่ชื่อผู้แต่งคนที่ 1 ถึงคนที่ 19 คั่นด้วยเครื่องหมายจุลภาค ( , ) ระหว่างผู้แต่งทุกคน ตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค 3 จุด (. . .) โดยหน้าและหลังของแต่ละจุด ต้องเว้นวรรค 1 ตัวอักษร และตามด้วยชื่อผู้แต่งคนสุดท้าย

Yagi, K., Sato, Y., Sakaguchi, S., Goda, M., Hamano, H., Aizawa, F., Shimizu, M., Inoue-Hamano, A., Nishimori, T., Tagi, M., Kanno, M., Matsuoka-Ando, R., Yoshioka, T., Matstubara, Y., Izawa-Ishizawz, Y., Shimizu, R., Maruo, A., Kuniki, Y., Sakamoto, … Ishizawa, K.

   1.5 บรรณาธิการ

ให้ใส่ชื่อบรรณาธิการ ตามด้วยตัวย่อ Ed. หากมากกว่า 1 คนให้ใช้ Eds. ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (     )

Shelley, M., & Sahin, I. (Eds.)

 2. ประเภทรายการอ้างอิง

   2.1 บทความ

   2.1.1 บทความในวารสาร ฉบับตีพิมพ์

  1. ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง
  2. ปีพิมพ์ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) สำหรับงานภาษาต่างประเทศให้ใช้เป็นปี ค.ศ.3. ชื่อบทความ สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัว พิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน
  3. ชื่อวารสาร ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกในแต่ละคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และเป็นตัวพิมพ์เอียง
  4. ปีที่วารสาร พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เอียง
  5. ฉบับที่ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ติดกับปีที่ แต่ไม่ต้องเป็นตัวพิมพ์เอียง
  6. เลขหน้า

ตัวอย่าง

U-senyang, S., Trichandhara, K., & Rinthaisong, I. (2017). Antecedents of Organizational Health in Southern Thailan. International Journal of Behavioral Science, 12(1), 79 – 97.

   2.1.2 บทความในวารสาร ฉบับที่เผยแพร่ออนไลน์

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./URL 

ตัวอย่าง

Fonghoi, W. (2019). In-service Secondary School English Language teachers’ Instructional Practices, Challenges, and their Training Needs: A Focus Group Interview Study, Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 6(2), 152 – 165. http://so05.tci-thaijo.org/index/php/pnuhuso/ article/View/ 173972/142226

   2.1.3 บทความในวารสาร ที่มีเลข Digital Object Identifier (DOI)

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่ อ./(ปีพิมพ์ )./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./

 https://doi.org////////เลข DOI

ตัวอย่าง

Sayoh, I., Rusling, D.A., Brown, T., & Fox, K.R. (2020). DNA Structural Changes Induced by Intermolecular Triple Helix Formation. ACS Omega 2020, 5, 1679-1687. http://doi.org/10.1021/acsomega.9b03776

   2.1.4 บทความในนิตยสาร

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปี,/เดือน/วัน)./ชื่อบทความ./ชื่อนิตยสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

ตัวอย่าง

Walt, V. (2021). The Lonely Quest for Ethical Chocolate. Fortune, 183(2), 54 - 58.

   2.1.5 บทความในนิตยสารออนไลน์

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่ อ./(ปี,/เดือน/วัน)./ชื่อบทความ./ชื่อนิตยสาร,/ปีที่(ฉบับที่),/เลขหน้า./

 URL

ตัวอย่าง

Kelleher, K. (2020, February 13). Here are the Biggest Tax Law Changes to Look Out for this Year. Time, 195(3). http://time.com/5770130/tax-law-changes-2020/

   2.2 หนังสือ

  1. ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง
  2. ปีพิมพ์ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปีค.ศ. กรณีที่ไม่ปรากฏปีพิมพ์ให้ใส่ n.d.
  3. ชื่อหนังสือ สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรก้ดวยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน
  4. กรณีหนังสือจัดพิมพ์ครั้งที่ 2 ขึ้นไป ให้ระบุ (พิมพ์ครั้งที่/เลข) ไว้หลังชื่อหนังสือโดยไม่ต้องคั่นด้วยเครื่องหมายมหัพภาค ( . ) สำหรับงานต่างประเทศให้ใส่ตัวย่อ ed. ไว้หลังครั้งที่พิมพ์
  5. สำนักพิมพ์ ไม่ใส่คำว่า สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วน จำกัด บริษัท จำกัด มหาชน ยกเว้นสำนักพิมพ์ของสถาบันการศึกษา ให้ใส่ตามข้อมูลที่ปรากฏ เช่น สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น หรือภาษาต่างประเทศที่ใช้คำว่า Books หรือ Press
  6. กรณีไม่ปรากฏสำนักพิมพ์ ให้ใส่ n.p.
  7. กรณีที่ชื่อผู้แต่งและสำนักพิมพ์เหมือนกัน ให้ใส่คำว่า Author แทนตรงสำนักพิมพ์

 ตัวอย่าง

Mackey, A. (2007). Oxford Applied Linguistics: Conversational Interaction in Second Language Acquisition. Oxford University Press.

Shelley, M., & Sahin, I. (Eds.). (2022). Studies on Education, Science, and Technology 2021. ISTES Organization.

   2.2.1 บทในหนังสือ

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่ อ./(ปี พิ มพ์ )./ชื่ อบทหรื อชื่ อบทความ./In/ชื่ อบรรณาธิ การ /(Ed. หรือ////////Eds.),/ชื่อหนังสือ/(p./เลขหน้า)./สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง

Button, L. (2009). Facing Time: The Evocation of Time in Visual and Literary Forms of Autobiography. In S. Panja, S. Chakrabarti & C. Devadawson (Eds.), Word, Image, Text: Studies in Literary and Visual Culture (PP. 152-160). Orient

 BlackSwan.

   2.2.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีพิมพ์)./ชื่อเรื่อง/(พิมพ์ครั้งที่)./สำนักพิมพ์./URL

ตัวอย่าง

Fedorov, A. (2007). Media Education: Sociology Surveys. House. http://files.eric. ed.gor /fulltext/ED557586.pdf

2.3 วิทยานิพนธ์

  1. 1. ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง
  2. ปีที่เผยแพร่ ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปี ค.ศ.
  3. ชื่อวิทยานิพนธ์ สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง
  4. ให้ใส่คำว่า วิทยาพิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หรือวิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิตในเครื่องหมายวงเล็บ [ ] สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้ใส่คำว่า Master’s thesis หรือ Doctoral dissertation
  5. ชื่อมหาวิทยาลัย

2.3.1 วิทยานิพนธ์ ฉบับตีพิมพ์

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์ /[Master’s thesis หรือ Doctoral ///////dissertation]./ชื่อมหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง

Mayi, L. (2011). Doing Repair in Native-Non-Native Talk: A Conversation Analytic Study  of Thai-English Interaction [Master’s thesis]. York St John University.

2.3.2 วิทยานิพนธ์ จากฐานข้อมูลออนไลน์

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อวิทยานิพนธ์ /[Master’s thesis หรือ Doctoral ///////dissertation,/ชื่อมหาวิทยาลัย]./ชื่อฐานข้อมูล./URL

ตัวอย่าง

Hounkong, K. (2015). Coptosapelta Flavescens as a Potential Anti-Entamoebba Histolytica and Anti-Giardia Intestinalis [Doctoral dissertation, Prince of Songkla University]. PSU Knowledge Bank. http://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2010 /10246/1/404643.pdf

2.4 รายงานการวิจัย

  1. 1. ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง
  2. ปี ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปี ค.ศ.
  3. ชื่อเรื่อง สำหรับงานภาษาต่างประเทศ ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง
  4. สำนักพิมพ์

ตัวอย่าง

Rushton, N. (2022). Register of Change Part 1 2000-2010 (Research Report). Cambridge University Press & Assessment. http://files/eric/ed/gov/fulltext /ED622104.pdf         

2.5 เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ (Proceeding)

  1. ชื่อผู้แต่ง ให้ใส่ตามหลักเกณฑ์การลงชื่อผู้แต่ง
  2. ปี ให้ใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) สำหรับงานต่างประเทศ ให้ใช้เป็นปี ค.ศ.
  3. ชื่อบทความ สำหรับงานต่างประเทศให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำสันธาน (Conjunction) ได้แก่ for, and, or, but, while, when, after, before, because และเป็นตัวพิมพ์เอียง
  4. ให้ใส่คำว่า In ตามด้วยชื่อบรรณาธิการหรือชื่อหน่วยงาน หากเป็นบรรณาธิการ ให้ใส่คำว่า Ed. หรือ Eds. ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ กำกับไว้หลังชื่อบรรณาธิการ
  5. ชื่อหัวข้อการประชุม ให้เป็นตัวเอียง
  6. ชื่อการประชุม ให้พิมพ์ตัวอักษรตัวแรกในแต่ละคำด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ และเป็นตัวพิมพ์เอียง จากนั้นให้ใส่ตัวอักษรย่อ PP. ตามด้วยเลขหน้า ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ
  7. ชื่อฐานข้อมูล / ชื่อหน่วยงานจัดการประชุม

ตัวอย่าง

Kakinuma, Y. (2022). Catching on to Crypto: Evidence from the Stock Exchange of Thailand. In Faculty of Management and Tourism, Burapha University, Business transformation thriving through changes and turbulences, The International and National Conference on Business Administration and Accountancy 2022: INCBAA 2022 (p.4), Faculty of Management and Tourism, Burapha University.

 

2.6 สารสนเทศจากเว็บไซต์

นามสกุล,/อักษรย่อของชื่อ./(ปี,/เดือน/วันที่เผยแพร่)./ชื่อเรื่อง./ชื่อเว็บไซต์./URL

ตัวอย่าง

Sirisilla, S. (2022, December 19). Effective Use of Statistics in Research–Methods and Tools for Data Analysis. Enago Academy. https://www.enago.com/academy/statistics-in-research-data-analysis/

 

ข้อแนะนำในการส่งต้นฉบับ

            เมื่อผู้นิพนธ์เตรียมไฟล์ต้นฉบับตามการเตรียมต้นฉบับบทความวิจัย/บทความวิชาการแล้ว สามารถส่งไฟล์ต้นฉบับทาง

            E-mail: pnu_jr@hotmail.com และ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr

            โดยลงทะเบียนสมาชิกเข้าเว็บไซต์ แล้วทำตามคำแนะนำสำหรับการใช้งานเบื้องต้นของระบบ ThaiJO (สำหรับผู้แต่ง Author) ซึ่งมีรายละเอียดตามหัวข้อดังนี้

- การลงทะเบียนผู้นิพนธ์ (Author Register) (ผู้ใช้ยังไม่มี Username, Password ในระบบ ThaiJO)

- การส่งบทความ (Submission)

- รอตรวจสอบสถานะ การตอบรับ/ปฏิเสธ ทาง E-mail

ข้อแนะนำการส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง

            ผู้นิพนธ์ศึกษา ตรวจสอบขั้นตอนการส่งบทความ และดาวน์โหลดเอกสารที่เกี่ยวข้อง  (ดาวน์โหลดไฟล์)  หลังจากนั้นส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องและบทความต้นฉบับ จำนวน 1 ชุด ทางไปรษณีย์ ส่งมาที่

บรรณาธิการวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  ชั้น 3 สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์  99 ม. 8 ต. โคกเคียน อ. เมือง จ. นราธิวาส 96000

การติดต่อวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

ติดต่อได้ที่ งานวารสาร (คุณปิยนุช วัจนศิริ หรือ คุณซัมซียะห์ เจ๊ะสาเม๊าะ)

Tel 073-709-030 ต่อ 1161, Fax 073-709-030 ต่อ 1173

Mobile phone 09-3604-3247 E-mail: pnu_jr@hotmail.com

 

นโยบายส่วนบุคคล

  1. เป็นผลงานของผู้เขียนและ/ผู้เขียนร่วมตามชื่อที่ระบุในบทความจริง
  2. ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของผู้อื่น เช่น ลอกเลียนผลงาน ปลอมแปลงผลงาน ดัดแปลงผลงาน
  3. ไม่เคยเผยแพร่บทความนี้ในวารสารอื่นใดมาก่อน และไม่ส่งบทความนี้เพื่อพิจารณาเผยแพร่ในวารสารอื่น นับจากที่ผู้เขียนได้ส่งบทความมายังวารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์