ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา

ผู้แต่ง

  • ปรียนุช ชัยกองเกียรติ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, การคงอยู่ในงาน, พยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงพรรณนานี้ศึกษาการคงอยู่ในงาน และปัจจัยที่ร่วมทำนายการคงอยู่ในงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา จำนวน 248 คน คำนวณขนาดและสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน และหาค่าความตรงของแบบสอบถาม (IOC) ได้เท่ากับ 0.92 ทดสอบค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธ์ิสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสร้างสมการทำนายการคงอยู่ในงานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นบันได

     ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านบุคคลที่ทำให้คงอยู่ในงานในระดับมากคือ มีภาระที่ต้องดูแลครอบครัว (M= 4.11, S.D. = 0.88) และภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่จังหวัด/ใกล้เคียงที่ตั้งโรงพยาบาล (M= 4.07, S.D. = 1.02) ส่วนปัจจัยด้านองค์กรคือ ด้านสัมพันธภาพของผู้ปฏิบัติงาน (M= 3.79, S.D. = 0.72) ระยะเวลาการคงอยู่ในงานเฉลี่ย 10.13 ปี ( S.D. = 9.11) และคาดหวังว่าจะคงอยู่ในงานตลอดไป ร้อยละ 73.4 ส่วนอายุ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภูมิลำเนา และรายได้ สามารถอธิบายความแปรปรวนของการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพได้ร้อยละ 87.3 ผลการวิจัยนี้เป็นแนวทางสำหรับผู้บริหารองค์กรในการกำหนดนโยบาย และส่งเสริมกลยุทธ์ที่ใช้ในการธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณภาพให้คงอยู่ในวิชาชีพพยาบาล และให้เพียงพอต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการพยาบาล

References

Ekkpot, D. (2008). Factors Influencing Retention of Professional Nurses at Hospitals in Three Southern Border Provinces. Master’s Thesis. Sukhothai Thammathirat University. (In Thai.)

Herzberg, F. (1959). The Motivation of Work. New York: John Wiley & Sons.

Maslow, A. H. (1970). Motivation and Personality. (2nd ed.). New York: Harper & Row.

Mitchell, T. S., & Thomas, W. L. (2001). The unfolding model of voluntary turnover and job embeddedness:
Foundations for a comprehensive theory of attachment. Research in Organization Behavior, 23(1),189-246.

Sawaengdee, K. (2008). The Current Nursing Workforce Situation in Thailand. Journal of Health Systems Research, 2(1), 40-46. (in Thai).

Srisatidnarakul, B. (2008). Leadership and Strategic management in Nusing Organization for the 21th Century.
Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai).

Srisuphan, W. & Sawaengdee, K. (2012). Recommended Policy-based Solutions to Shortage of Registered
Nurses in Thailand. Thai Journal of Nursing Council 2012, 27(1), 5-12. (in Thai).

Steers, R. M. (1984). Introduction to Organizational Behavior. (2nd ed.). Illiois: Scott Foresman.

Tangchatchai, B., Siritarungsri, B., Sripunworasakul, S. & Rungkawat, V. (2011). Factors Predicting Job Retention of Professional Nurses at the Northeast Regional Hospitals, Ministry of Public Health. Thai Journal of Nursing Council, 26(4), 43-54. (In Thai).

Taokumlue, S. & Damapong, P. (2007). Selected Predictors of Nurses Intention to Remain with Organization,
Private Hospitals, Bangkok Metropolis. Journal of Nursing Science Naresuan University, 1(1), 92-105. (in Thai).

Thungjaroenkul, P., Swaengdee, K., Theerawit, T. & Tungcharoensathien, V. (2015). Health Problems and
Health Care Behaviors Among Registered Nurses in Thailand. Journal of Health Systems Research, 9(1), 49-60. (in Thai).

Wonganutrohd, P. (2004). Personnel Management Psychology. Bangkok: Pimdee. (in Thai).

Yospaiboon, K. (1995). A Study on Factors Affecting Professional Nurse Retention in Srinagarind Hospital, Khonkaen University. Master’s Thesis. Khonkaen University. (in Thai).

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2018-01-15

How to Cite

ชัยกองเกียรติ ป. (2018). ปัจจัยทำนายการคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(1), 112–121. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/109354