การศึกษาความเสียหายของถนนวัสดุผิวทางรีไซคลิง
คำสำคัญ:
ลักษณะความเสียหายของผิวถนน, วัสดุชั้นทางเดิมมาใช้ใหม่, ประเมินสภาพความเสียหายของทางหลวงบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาความเสียหายของถนนวัสดุผิวทางรีไซคลิงบนทางหลวงจังหวัดสงขลาของแขวงทางหลวงสงขลาที่ 1 จำนวน 5 สายทาง 7 ตอนควบคุม ระยะทาง 54.82 กิโลเมตร และแขวงทางหลวงสงขลาที่ 2 (นาหม่อม) จำนวน 2 สายทาง 3 ตอนควบคุมระยะทาง 16.93 กิโลเมตร ทำการวิจัยทั้งหมด 10 ตอนควบคุม เป็นระยะทางทั้งหมด 71.75 กิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 10.79% ของถนนทั้งหมด ณ ปัจจุบัน และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต
การตรวจสอบสภาพความเสียหายของผิวทาง เพื่อวิเคราะห์แจกแจง สรุปรูปแบบความเสียหาย วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความเสียหายกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสียหายของผิวถนน คือ อายุการใช้งาน ความสูงของคันทาง ปริมาณรถบรรทุกหนัก และลักษณะภูมิประเทศ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ทำการบำรุงรักษาทางในแขวงทางหลวงสงขลาที่ 1 และแขวงทางหลวงสงขลาที่ 2 (นาหม่อม) สามารถใช้ในการพิจารณาวางแผนซ่อมแซม การตัดสินใจเลือกวิธีบำรุงรักษาให้ทันเวลา และไม่ให้เกิดการลุกลามของความเสียหาย พบว่าลักษณะความเสียหายของถนนวัสดุผิวทางรีไซคลิงบนทางหลวงจังหวัดสงขลามีทั้งหมด 10 รูปแบบ คือ รอยแตกแบบหนังจระเข้ รอยแตกตรงขอบรอยต่อ รอยแตกระหว่างช่องจราจร รอยแตกการขยายช่องจราจร ผิวหลุดร่อน หลุมบ่อ ร่องล้อ ผิวหน้าเยิ้ม ผิวมวลรวมถูกขัดสี และรอยปะซ่อม ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลระหว่างรูปแบบความเสียหาย พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อรูปแบบความเสียหายมี 2 ปัจจัย คือ อายุการใช้งาน และปริมาณรถบรรทุกหนัก
References
Boonlakorn, R. (2013). The Study of Distress of Highway Rehabilitated by Pavement In-Place Recycling Method: A Case Study of Lopburi 1 Highway District. Master of Engineering Thesis. School of Civil Engineering, Suranaree University of Technology. (in Thai).
Bureau of Highway Maintenance Management. (2020). Maintenance Management System. Retrieved January 3, 2020 from http://bmm.doh.go.th/website/index.php.
Bureau of Road Research and Development. (2015). Accelerated Pavement Testing Project in Thailand (phase 2). Bureau of Road Research and Development. (In Thai.)
Bureau of Standards and Evaluation. (2020). Standards for Highway Construction (DH.-S). Retrieved January 3, 2020 from http://www.hwstd.com/Uploads/Downloads/9/dhs213-43.pdf.
Chanaboon, S. (2017). Inferential Data Analysis by Dr. Sutin Chanaboon, Statistics and Data Analysis in Research. Khon Kaen Provincial Health Office. (in Thai).
Charoenkij, S. (2017). Improving Engineering Properties of Lateritic Soil with Natural Rubber Latex. Master of Engineering Thesis. Prince of Songkla University. (in Thai).
Chen, X., & Wang, H. (2018). Life cycle assessment of asphalt pavement recycling for greenhouse gas emission with temporal aspect. Journal of Cleaner Production 2018.
DOH Training. (2016). Training project for the course of highway construction control and maintenance for the 2016 fiscal year. Department of Highways.
Hair, Jr., William, C., Black, B.J., Rolph, B.E., & Joseph, A.F. (2010). Multivariate data analysis
(7th ed). New Jersey: Prentice Hall.
Office of Transport and Traffic Policy and Planning. (2018). Road accident situation analysis report 2017. Ministry of Transport. (In Thai.)
Office of Transport and Traffic Policy and Planning. (2019). Road accident situation analysis report 2018. Ministry of Transport. (In Thai.)
Subsompon, W., & Chaipetch, P. (2010). Work Estimation Model for Pavement Routine Maintainace, Research and Development Journal, 21(4).
Wisaruttamai, J. (2008). Relationship between rutting and engineering properties of asphalt concrete and other characteristics of flexible pavement in thailand. Master of Engineering Thesis, Chulalongkorn University. (In Thai.)
Wisaruttamai, J., Savasdisant, T., & Anuwet Sirikeat, S. (2008). A project to examine the damage of roads in Thailand to solve the problem of damaged roads prematurely. The 3rd Seminar on Highway Engineering. (In Thai.)