การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ : ผลของการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม

ผู้แต่ง

  • วนิสา หะยีเซะ 0849951293
  • Nujjaree Chaimongkol
  • Atcharawadee Sriyasak
  • Mayuree Yeepaloh

คำสำคัญ:

แอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์, การให้ความรู้, จำหน่ายออกจากโรงพยาบาล, มุสลิม, ทารกเกิดก่อนกำหนด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม มีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) วิเคราะห์สภาพและประเมินความต้องการ ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพและมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด รวมทั้งหมด 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (2) ออกแบบและพัฒนารูปแบบความรู้ผ่านแอปพลิเคชัน โดยนักวิจัยและผ่านผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพ (3) ทดลองใช้และประเมินประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาทารกเกิดก่อนกำหนดจำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังได้รับความรู้ผ่านแอปพลิเคชัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบ-ที และ (4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบแอปพลิเคชัน ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 คน และมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและความพึงพอใจต่อการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ เฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบความรู้ผ่านแอปพลิเคชันในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม ประกอบด้วย การดูแลทารกให้เป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ การดูแลทารกตามปัญหาสุขภาพ การดูแลทารกด้วยโภชนาการที่ฮาลาลและมีประโยชน์ และการดูแลทารกให้มีความผูกพันกับพระเจ้า (2) ภายหลังได้รับความรู้ผ่านแอปพลิเคชันมารดามีความรู้มากกว่าก่อนการได้รับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 17.24, p<0.01) และ (3) พยาบาลและมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด มีความพึงพอใจต่อการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชัน โดยรวมอยู่ระดับมาก (M = 4.39, S.D. = 0.44; M = 4.40, S.D. = 0.53 ตามลำดับ) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นรูปแบบแอปพลิเคชัน ซึ่งเป็นอีกทางเลือกที่สะดวก ง่าย ทันยุคทันสมัย และมารดาสามารถเรียนรู้ซ้ำได้ด้วยตนเอง พยาบาลและมารดาสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดตามวิถีมุสลิม

References

Awindaogo, F., Smith, V.C., & Litt, J.S. (2015). Predictors of caregiver Satisfaction with visiting nurse home visit after NICU discharge. Journal of Perinatology, 36(4), 325 - 328.

Bancalari, E., & Claure, N. (2016). Bronchopulmonary Dysplasia: Definitions and Epidemiology. In: Bhandari V, editor. Bronchopulmonary Dysplasia. New York: Humana press, 167 - 182.

Benjamin, J., Mezu-Ndubuisi, O.J., & Maheshwari, A. (2015). Developmental immunology. In R.J. Martin, A.A. Fanaroff & M.C. Walsh (Eds.) Fanaroff and Martin’s neonatal-perinatal medicine. (10th ed.), pp.697 - 733. Philadelphia, PA: Elsevier Saunders.

Bureau of Polity and Strategy. (2019). Public health statistics A.D.2018. [Database on the Internet]. Retrieved Jan 26, from http://bps.ops.moph.go.th/.

Carlo, W.A., & Ambalavanan, N. (2016). Respiratory tract disorders. In R.M. Kliegmen, B.F. Stanton, J. St. Geme, et al. (Eds.), Nelson textbook of pediatrics (20th ed.), pp. 848 - 867. Philadelphia, PA: Elsevier.

Crabtree, B.F., & Miller, W.L. (1992). Doing Qualitative Research. London: SAGE.

Chookhampaeng, C. (2018). Curriculum Research and Development Concept and Process. Bangkok: Bangkok: Chula book. (In Thai)

Hayeese, W., Sap-In, N., Wangsawat, T., & Chaimongkol, N. (2015) Quality of life of Muslim preterm infantin three southernmost provinces of thailand. Princess of Naradhiwas University Journal, 7(1), 1 - 14.

Hayeese, W., Sap-In, N., Pichaisongkram, S., & Chaimongkol, N. (2016). Effects of the perceived self-efficacy promotion program of caregivers on quality of life of muslim preterm infants in naradhiwas province, The Journal of Faculty of Nursing, Burapha University, 24(2), 51 - 60.

Hayeese, W., & Pattanaprichawong, A. (2020). Nursing discharge planning for preterm infants: an islamic perspective. Narathiwat : Narathiwat Printing House. (In Thai)

Krueger, C., Horesh, E., & Crosland, B.A. (2012). Safe sound exposure in the fetus and preterm infant. Journal of Obstetric, Gynecologic, and Neonatal Nursing, 41(2), 166 - 170.

Lee, J.H., Kim, J.M., Kim, Y.D., Lee, S.M., Song, E.S., Ahn, S.Y., et al. (2014). The readmission of preterm infants of 30-33 weeks gestational age within 1 year following discharge from Neonatal Intensive Care Unit in Korea. Neonatal Medicine, 21(4): 224 - 232.

Matayaboon, D., Klunklin, P., & Urharmnuay, M. (2017). Good Practices: Developmental Care for Preterm Infants, Nursing Journal, 44(3), 165 - 173.

Mccall, E,M., Alderdice, F., & Halliday, H.L. (2018). Intervention to prevent hypothermia at birth in preterm and low birth infant. Cochrane Database Syst Rev, 12(2): CD 004210.

Naradhiwasrajanagarindra Hospital. (2018). Health report 2018. Copy. (In Thai)

Pezzati, M. (2014). Hospital readmissions in late preterm infants. Italian Journal of Pediatrics, 40(2), 29 - 32.

Srimala, S., Yenbut, J., & Urharmnuay, M. (2013). Discharge Planning Practices for Preterm Infants in Neonatal Intensive Care Unit, One of Tertiary Hospitals, Northern Region, Nursing Journal, 40(3), 21 - 29.

Surathamjanya, R. (2016). The Result of Using Application For Teaching English Vocabulary on Tablet in English Subject for Prathomsuksa2 Students in Ratchaburi Educational Service Area 2, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1030 - 1045.

Thampanichawat, W., Rungamornrat, S., & Payakkaraung, S. (2016). Nursing care for high-rise Neonates. Bangkok: Mahidol University. (In Thai)

Thato, R. (2018). Nursing research: Concepts to application. Bangkok: Chula book. (In Thai).

Vanaleesin, S., & Mamah, P. (2015). Self-care of nurse based on Islamic scripture, The Journal of Phychiatric Nursing and Mental Health, 29(2), 1 - 11.

Warapitbenja, P., Klinnu, J., & Srisom, N. (2015). The Development Learning Management System Application of Virtual Classrooms on Mobile Device, Industrial Technology lampang Rajahat University Journal, 8(2), 58 - 67.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2021-01-12