การเปลี่ยนแปลงด้านสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนไก่อายุ 3 วันหลังจากได้รับขมิ้นชัน

ผู้แต่ง

  • Manutsanun Santiparadon 0811872183
  • Sudarat Rongpan
  • Kolip Payanglee
  • Kruawun Hounkong
  • Kasem Koedpuech

คำสำคัญ:

ขมิ้นชัน, ตัวอ่อนไก่, ผลการก่อรูปวิกล

บทคัดย่อ

ขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพร มีคุณสมบัติตามบัญชียาหลักแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2555 คือ บรรเทาอาการแน่นจุกเสียด ท้องอืด ท้องเฟ้อ ซึ่งเป็นอาการที่มักพบในหญิงตั้งครรภ์ระยะไตรมาสที่ 1 จึงมักนิยมใช้ขมิ้นชันเป็นทางเลือกในการรักษาแทนการใช้ยาแผนปัจจุบัน การศึกษาเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความผิดปกติทางด้านสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนไก่อายุ 3 วันหลังจากได้รับสารละลายขมิ้นชันที่ความเข้มข้น 20, 40 และ 60 มก./ลิตร โดยใช้ไข่ไก่มีเชื้อพันธุ์โรดไทย จำนวน 94 ฟอง แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่ได้รับสารใด ๆ กลุ่มที่ได้รับน้ำมันข้าวโพด กลุ่มที่ได้รับสารละลายขมิ้นชันที่ความเข้มข้น 20, 40, และ 60 มก./ลิตร โดยฉีดสารเข้าทางไข่แดง แล้วนำไปฟักที่อุณหภูมิ 37±0.5 องศาเซลเซียส เมื่อครบ 3 วันนำตัวอ่อนไก่มาศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางด้านสัณฐานวิทยาบริเวณส่วน cephalic region รยางค์ caudal region และลำตัว ใช้สถิติ Fisher’s Exact test เพื่อทดสอบผลของความเข้มข้นของสารละลายขมิ้นชันต่อสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนไก่ ผลการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของสารละลายขมิ้นชันทั้ง 3 ระดับไม่มีผลต่อจำนวนการตายของตัวอ่อนไก่ และความผิดปกติทางด้านสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนไก่ ซึ่งในกลุ่มที่ได้รับสารละลายขมิ้นชันที่ความเข้มข้น 20 มก./ลิตร พบความผิดปกติของลำตัว กลุ่มที่ได้รับสารละลายขมิ้นชันที่ความเข้มข้น 40 มก./ลิตร พบความผิดปกติของสมองส่วนหน้าและ neural tube ส่วนกลุ่มที่ใช้สารละลายขมิ้นชันที่ความเข้มข้น 60 มก./ลิตร พบว่าสมองส่วนหน้ามีการเจริญเพียงบางส่วน และไม่มีการเจริญของรยางค์ขา

References

Ahmed, M., Hwang, J. H., Choi, S., & Han, D. (2017). Safety classification of herbal medicines used among pregnant women in Asian countries: a systematic review. BMC Complementary and Alternative Medicine, 17(1), 489.

Chen, C.C., Hsieh, M.S., Hsuuw, Y.D., Huang, F.J., & Chan, W.H. (2010). Hazardous effects of curcumin on mouse embryonic development through a mitochondria-dependent apoptotic signaling pathway. International Journal of Molecular Sciences, 11(8), 2839 - 2855.

Christensen, V.L. (2001). Factors associated with early embryonic mortality. Worlds Poult. Sci. J., 57, 359 - 372.

Evaluation of the joint FAO/WHO expert committee on Food additives (JECFA). (2019). Curcumin. Retrieved November 7, 2020 from https://apps.who.int/food-additives-contaminants-jecfa-database/chemical.aspx?chemID=638

Forster, D.A., Denning, A., Wills, G., Bolger, M., & McCarthy, E. (2006). Herbal medicine use during pregnancy in a group of Australian women. BMC Pregnancy and Childbirth, 6, 21.

Hamburger, V., & Hamilton, H.L. (1992). A series of normal stages in the development of the chick embryo. 1951. Developmental Dynamics: an Official Publication of the American Association of Anatomists, 195(4), 231 - 272.

Hill, M.A. (2018). Embryology Carnegie Stage Comparison. Retrieved November 6, 2020 from https://embryology.med.unsw.edu.au/embryology/index.php/Carnegie_Stage_Comparison

Huang, F.J., Lan, K.C., Kang, H.Y., Liu, Y.C., Hsuuw, Y.D., Chan, W.H., & Huang, K.E. (2013). Effect of curcumin on in vitro early post-implantation stages of mouse embryo development. European Journal of Obstetrics, Gynecology, and Reproductive Biology, 166(1), 47 - 51.

Institutional Animal Care and Use Committee (IACUC). (2019). Policy for use of avian embryos. Retrieved July 11, 2020 from http://ird.skru.ac.th/2558/file/km4.pdf

Laelago, T. (2018). Herbal medicine use during pregnancy: benefits and untoward effects. London: IntechOpen.

Mishrikoti, H.P., & Kulkarni, U.K. (2018). An early chick embryo as learning model for study of embryology. National Journal of Clinical Anatomy, 7(04), 177 - 182.

National drug system development committee. (2019). Thailand national list of essential medicine BC 2019 (2019, 17 April). Royal Thai Government gazette,136(95ง), 1 - 283.

Roongruangchai, J., Viravud, Y., Plakornkul, V., Sripaoraya, K., Jorakit, W., & Roongruangchai, K. (2018). The Teratogenic Effects of Dichlorvos on the Development of Chick Embryos. Siriraj Medical Journal, 70(1), 44 - 52.

Wu, J.Y., Lin, C.Y., Lin, T.W., Ken, C.F., & Wen, Y.D. (2007). Curcumin affects development of zebrafish embryo. Biological & Pharmaceutical Bulletin, 30(7), 1336 - 1339.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2021-01-13

How to Cite

Santiparadon, M., Rongpan, S., Payanglee, K., Hounkong, K., & Koedpuech, K. (2021). การเปลี่ยนแปลงด้านสัณฐานวิทยาของตัวอ่อนไก่อายุ 3 วันหลังจากได้รับขมิ้นชัน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(1), 309–318. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/245515