แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สมนึก ลิ้มเจริญ 062-0578555
  • Sunee Trimanee
  • Narid Thaiburi
  • Jamnong Jun-iad
  • Surasak Kochapakdee

คำสำคัญ:

แนวทางการส่งเสริม, แพะเนื้อ, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาด้านที่เกี่ยวข้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ ความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะของเกษตรกร เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ดังนี้ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย จำนวน 33,307 ครัวเรือน คำนวณกลุ่มตัวอย่างที่มีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 เท่ากับ 396 ราย และเก็บข้อมูล เชิงคุณภาพ จากเจ้าหน้าที่องค์กรภาครัฐที่สนับสนุนและส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ จำนวน 15 ราย โดยวิธีเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าสถิติ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ

                              ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงแพะเนื้อ ส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อย นับถือศาสนาอิสลาม การเลี้ยงแพะเนื้อเพื่อจำหน่าย ใช้วิธีเหมาเป็นรายตัว ราคาเฉลี่ย 3,806.70 บาทต่อตัว เกษตรกรมีความต้องการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อในระดับมาก การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจและสภาพการเลี้ยงแพะเนื้อมีความสัมพันธ์กับจำนวนแพะเนื้อทั้งหมด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01) และแนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อ ได้เสนอให้เห็นถึงองค์ประกอบ ของการสื่อสารที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 1) แหล่งข้อมูลข่าวสารหรือการถ่ายทอด คือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หน่วยงานภาคเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาสัตวศาสตร์ ที่มีความรู้ความชำนาญด้านการเลี้ยงแพะเนื้อ 2) ตัวสารหรือข่าวสาร เกี่ยวกับปัจจัยและการจัดการผลิตที่สำคัญด้านการเลือกซื้อแพะและการผสมพันธุ์ การปฏิบัติเลี้ยงดูแพะเนื้อ อาหารและการให้อาหารและการป้องกันรักษาโรค 3) ช่องทางของการถ่ายทอดและสื่อที่ใช้ คือการศึกษาดูงานฟาร์มแพะที่ประสบความสำเร็จ การส่งเสริมผ่านสื่อโทรทัศน์และจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร 4) ผู้รับสารหรือผู้ได้รับการถ่ายทอดคือเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะ ส่วนกระบวนการถ่ายทอดความรู้นั้น ผู้ทำการถ่ายทอดจะเริ่มกระบวนการถ่ายทอดความรู้ในด้านจัดการผลิตแพะเนื้อจากความรู้พื้นฐานที่ง่ายไปสู่ความรู้การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตตามลำดับ โดยวิธีการอธิบายความรู้กับการปฏิบัติจริงในการเลี้ยงแพะเนื้อ

References

Berlo, D., K. (1960). The process of communication. New York. New York: Holt. Rinehart. & Winston

Department of Livestock Information. (2017). Statistics Number of livestock. Department of Livestock. Ministry of Agriculture and Cooperatives.

Department of Livestock Information. (2019). Data Meat Goat of Thailand 2019. Department of Livestock Development.

Hair, J.F., Anderson, R.E., Tatham, R.L., & Black, W.C. (1995). Multivariate data analysis. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Kaewla-ead, S. (2015) Development in Goat Marketing for the Economic Value Added of Goat Farmers in the Songkhla. Songkhla Rajabhat University. (in Thai).

Kochapakdee, S. (2006). Treatise for raising meat goat. Faculty of Technology Community Development, Thaksin University, Phatthalung Campus. (in Thai).

Limcharoen, S., Tangwiwat, P., Khlibtong, J., & Kochapakdee, S. (2020). The Extension Model for Business Development of Meat Goat Production in Southern Border Provinces. Princess of Naradhiwas University Journal, 12(3), 337-360.

Limcharoen, S., Khongsen, M., Taahai, S., & Peeyao, M. (2018). Effects of Laveamisol Ivermectin and Albendazole on eradication ofgastro - intestinal parasite in goats (Capra hircus). Khon Kaen Agricultural Journal, 46 suppl. 1, 622-627.

Limcharoen, S., Laleng, M., Mat, M., & Laten, B. (2016). A Study on Meat Goat Raising of Farmers in Mueng District, Narathiwat Province. National Academic Conference 4, Princess of Naradhiwas University, 61-71. (in Thai).

Pralomkarn, W., Supakorn, C., & Boonsanit, D. (2012). Knowledge in Goats in Thailand. Walailak Journal Science & Technology, 9(2), 93-105.

Vineebanchar, K. (2018). Using SPSS for Windows in Data Analysis. Department of Statistics, Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University. Bangkok. (in Thai).

Yupraserh, B. (2018). Research and Statistics for Agricultural Extension and Development. (Unit 5, 5-11) Nonthaburi, Sukhothai Thammathirat Open University, Department of Agriculture and Cooperatives Extension. (in Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rded.). New York: Harper and Row Publication.

Additional Files

เผยแพร่แล้ว

2021-09-15

How to Cite

ลิ้มเจริญ ส., Trimanee, S. . ., Thaiburi, N. ., Jun-iad, J., & Kochapakdee, S. . . (2021). แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงแพะเนื้อใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(3), 396–420. สืบค้น จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/pnujr/article/view/249904