การศึกษาสัดส่วนร่างกายผู้สูงอายุที่มีปัญหาในการเคลื่อนไหว
คำสำคัญ:
สัดส่วนร่างกาย, ผู้สูงอายุ, การเคลื่อนไหวบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลสุขภาพ สัดส่วนร่างกาย การออกแรงบีบมือและ ออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องช่วยสำหรับผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวได้น้อย และศึกษาประสิทธิผลของการออกแบบ โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวใน
จังหวัดนครปฐม โดยสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันขั้นพื้นฐานได้ด้วยตนเอง สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุมีปัญหาการเคลื่อนไหว ท่าเดินผิดปกติ (ในที่นั่งทั้งเดินภายในที่พักอาศัย–นอกที่พักอาศัย) คิดเป็นร้อยละ 90 มีความบกพร่องด้านการเคลื่อนไหว เช่น กระตุก เกร็ง
ร้อยละ 20.0 ไม่สามารถยืนทรงตัวได้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 40.0 และไม่สามารถเดินได้ด้วยตนเอง คิดเป็นร้อยละ 50.0 มีอาการกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง ปวดข้อเข่า และข้อเข่าเสื่อม คิดเป็นร้อยละ 60.0 ซึ่งจากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้น จึงหาแนวทางโดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบสำหรับผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวได้น้อย โดยมีการวัดสัดส่วนความสูงจากพื้น – ข้อศอก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 108.46 (±1.07) ความกว้างสะโพก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 50.70 (±0.79) และน้ำหนัก (กิโลกรัม) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 76.96 (±2.04) และการทดสอบค่าแรงที่ใช้บีบนิ้วมือ เฉลี่ยอยู่ที่ 30.56 (±6.26) โดยนำค่าการวัดสัดส่วนของร่างกายมาออกแบบตามหลักการยศาสตร์ ให้เหมาะสมแก่สรีระร่างกาย และทำการศึกษาประสิทธิผลของเครื่องช่วยสำหรับผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวได้น้อย โดยพบว่ามีระดับความเหมาะสมด้านหน้าที่ใช้สอยอยู่ในระดับมาก(X= 4.13, S.D. = 0.34) และความเป็นไปได้ด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับมากที่สุด
(X= 4.30, S.D. = 0.46) และด้านความแข็งแรงอยู่ในระดับมาก (X= 4.20, S.D. = 0.65)
References
Boonmatong, R. (2020) Fall prevention among the elderly living in a community: The nursing role in promotion and prevention of fall. Christian University Journal, 26(4), 106-115.
Department of Older Persons. (2020). Conceptual framework and operating policy on the elderly, Measures to drive the national agenda on the Aging Society, Ministry of Social Development and Human Security, 11-22.
Institute of Geriatric Medicine. (2008). Assessment of medical technology. On the comparison of the relationship Test for preliminary dementia Thai version (MMSE-Thai) 2002 and the Thai Mini-Mental State Examination (TMSE) for screening elderly people with dementia. Bangkok: CG Tools Co., LTD. (in Thai).
Jongkol, P. (2019). Design of facilities dimension for elderly. (Research report). Nakhon Ratchasima: Suranaree University of Technology. (in Thai)
Kittipibul, V., & Boontanon, N. (2020). The development of elderly health screening and elderly health promotion program for preventive long- term care, based on the concept: “Do not fall, do not forget, do not depress and good eats”. Regional Health Promotion Center 9 Journal, 14(34), 158-171.
Kittiwarapreda, W. (2020). Emergency Equipment for Private Elders. Vocational Education Central Region Journal, 4(2), 66-78.
Leng-Ee, A., & Thepma, A. (2019). The use of knowledge of the proportion of the elderly to compare the relationship between furniture and homeaccessories: case study of Maeka, Muang, Phayao. J-D: Academic Journal Environmental Design, 6(2), 127-143.
Nawsuwan, K., & Suwanraj, M. (2019). Current Problems and Care Needs of Older Adults Living in Local Administrative Organization Responsibility Area in the Lower Southern of Thailand. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 11(2), 118-132.
Ratanopas, W., (2022). Nutritional Status Assessment of the Elderly in the Academic Services Areas of Kamphaeng Phet Rajabhat University. Academic Journal of Community Public Health, 8(4), 9-23.
Sitlaothaworn, W., & Rungroungdouyboon, B. (2018). The design of gait-assisted machine with partial weight support system version 2.0: Space Walker. Kasetsart Engineering Journal, 31(105), 1-10.
Somboontanont, W., & Thiengtham, S. (2018). Factors related to activity of daily living among community dwelling older adults with low muscle strength. Songklanagarind Journal of Nursing, Prince of Songkla University, 38(2), 110-123.
Sureeyaphan, M., Phromtha, C., Pothanapha, S., Nattayapattarakul, N., & Somchuact, T. (2021). Hearing aids for the elderly. Bureau of Vocational Education Research and Development, Retrieved October 2021, 25 from https://www.thailandinnovationportal.com/info/innovation /item/42282
Witsawaphaisan, T., & Teepprasan, W. (2021). Association between Hand Grip Strength and Risk of Malnutrition in Elderly at Out-Patient Clinic, Faculty of Medicine, Vajira Hospital. Vajira Medical Journal: Journal of Urban Medicine, 65(4), 288-299.
Yamane, T. (1976). Statistics: An Introductory Analysis, 2nd Edition. New York, Harper and Row.
Additional Files
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.